Page 15 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 15

ฐ


                  เฉพาะบางมิติของการเลือกปฏิบัติ เช่น มิติด้านแรงงาน มิติด้านการศึกษา เป็นต้น แต่ยังไม่ครอบคลุมกรณี
                  ต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติภายใต้กรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและการเลือก

                  ปฏิบัติที่กฎหมายต่างประเทศให้การคุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกปฏิบัติในมิติและเหตุแห่งการเลือก
                  ปฏิบัติอื่นๆ นอกขอบเขตของกฎหมายเฉพาะดังกล่าว เช่น
                         -  การเลือกปฏิบัติในภาคเอกชน เช่น การกระท าในความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง หรือการ
                  เลือกปฏิบัติในบริบทอื่น เช่น การปฏิเสธการให้บริการหรือการจ าหน่ายสินค้า การจ ากัดสิทธิในการเข้าถึง

                  บริการหรือสถานที่ของภาคเอกชนต่างๆ หากเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติแล้วก็จัดอยู่ในขอบเขตของ
                  การเลือกปฏิบัติได้ จากการศึกษากฎหมายไทยที่มีอยู่ปัจจุบัน พบว่า มีปัญหากรณี การเลือกปฏิบัติใน
                  ภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อสินค้า บริการ ซึ่งมีการปฏิเสธสินค้าหรือการให้บริการด้วยเหตุแห่งการ
                  เลือกปฏิบัติที่กฎหมายเฉพาะดังกล่าวในตารางข้างต้นไม่ครอบคลุมถึง เช่น การปฏิเสธไม่จ าหน่ายสินค้า

                  หรือไม่ให้บริการบุคคลด้วยเหตุเชื้อชาติ ศาสนา หรือกรณีเหตุแห่ง “ความคิดเห็นอื่นหรือความเชื่อ” หรือจาก
                  การสัมภาษณ์มีผู้ให้ข้อมูลว่า “ร้านนวดบางแห่งไม่ให้บริการแก่คนไทย ให้บริการเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน /
                  เกาหลี เท่านั้น” “ร้านอาหารบางแห่งเปิดให้บริการเฉพาะทัวร์จีนเท่านั้น ลูกค้าคนไทยไม่ต้อนรับ” “บริการ
                  ขนส่ง รถแท็กซี่ ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารคนไทย โดยให้บริการเฉพาะชาวต่างชาติ”  “รถสามล้อ ปฏิเสธไม่รับ

                  ผู้โดยสารคนไทย” กรณีนี้จะเห็นได้ว่า เป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่ง “เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ” ในมิติของ
                                                                3
                  การให้บริการ ซึ่งไม่มีกฎหมายคุ้มครองเป็นการเฉพาะ  เนื่องจากไม่มีกฎหมายกลางที่ครอบคลุมการเลือก
                  ปฏิบัติซึ่งจะมาปรับใช้ส าหรับมิติเช่นนี้

                          -  กรณีการสื่อสารที่ท าให้เกิดความเกลียดชังด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่างๆ (Hate  Speech)
                  ดังเช่นกรณีข้อเท็จจริงจากผู้ให้สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม  เช่น มัคคุเทศก์ชาวไทย ผู้ให้ข้อมูล เห็นว่า “รู้สึกไม่ดี
                  ต่อมัคคุเทศก์ชาวจีน มาแย่งงาน หรือ ผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยเห็นว่า ชาวเวียดนามเข้ามาแย่งอาชีพ
                  ขายสินค้า กรณีทัศนคติเหล่านี้น าไปสู่การกล่าววาจาอันเป็นการคุกคาม (Harassment) ด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ
                  ได้ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะส าหรับพฤติกรรมดังกล่าว

                          -  การคุกคามทางเพศ (Sexual  Harassment)  ในกรณีที่เกี่ยวกับการจ้างแรงงาน โดยเฉพาะการ
                  คุกคามระหว่างลูกจ้างด้วยกัน และการคุกคามในลักษณะการสร้างบรรยากาศในที่ท างาน (Hostile Working
                  Environment) ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเป็นการเฉพาะ

                          - การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับมิติการจ้างแรงงาน เช่น ในมิติ
                  การศึกษา ดังจะเห็นได้จาก กรณีตามค าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มีการอ้างว่าถูกคุกคาม
                  ทางเพศในโรงเรียน เป็นต้น ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเป็นการเฉพาะ
                         -  การคุกคาม (Harassment)  ในบริบทอื่นนอกจากการจ้างแรงงาน และในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเหตุ

                  อื่นนอกจากการคุกคามทางเพศ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ความพิการ ฯลฯ ยังไม่มีกฎหมายครอบคลุมเป็นการ
                  เฉพาะ
                         เช่น ค าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ผู้ร้องอ้างว่า “ครูประจ าชั้นที่โรงเรียนฯ
                  กล่าวหาว่า นางสาวเอ เป็นโรคขาดผู้ชายไม่ได้ ต้องน าไปบ าบัด มีฮอร์โมนผิดปกติเพราะเป็นผู้พิการ” (ค าร้อง

                  ที่ 476/2556)  เป็นต้น หรือจากกรณีการสัมภาษณ์ที่ผู้ให้ข้อมูลถูกล้อเลียนเกี่ยวกับสภาพร่างกายจากเพื่อน
                  ร่วมงาน โดยการล้อเลียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร เปรียบเทียบร่างกาย (รูปร่าง
                  อ้วน) กับสัตว์ชนิดต่างๆ ส่งตัวการ์ตูนสติกเกอร์รูปสัตว์อ้วนรูปแบบต่างๆ มาล้อเลียนในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้


                  3
                    แต่ในบางภาคธุรกิจอาจมีกฎหมายเฉพาะเช่นการรับผู้โดยสารของแท็กซี่ แต่ก็ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติตาม
                  ความหมายของสิทธิมนุษยชน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20