Page 11 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 11

ฌ


                  ตามที่กฎหมายก าหนดว่า “การกระท าที่ไม่ใช่การกระท าอันเป็นการเลือกปฏิบัติ”  (It  is  not  a
                  discriminatory practice) ดังเช่นกรณีกฎหมายแคนาดา


                         4.    ก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การเลือกปฏิบัติ”
                  (Discrimination)  และก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่มีเหตุผลอันสมควรตามที่กฎหมายก าหนด
                  หรือ ไม่เข้าองค์ประกอบเงื่อนไขของการเลือกปฏิบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การปฏิบัติที่แตกต่างกัน”

                  (Differentiation หรือ Differential Treatment) ดังเช่นแนวค าวินิจฉัยของศาลสูงสุดสิงค์โปร์ หรือกฎหมาย
                  ประเทศฟินแลนด์ สวีเดน เป็นต้น
                         ส าหรับกรณีของไทยนั้นอาจเทียบเคียงได้กับรูปแบบที่ 1 อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า การใช้ค า
                  “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”  ในบริบทของกฎหมายไทยมีลักษณะที่แตกต่างจากการใช้ค าดังกล่าวใน

                  ประเทศที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเป็นกฎหมายเฉพาะในลักษณะของกฎหมายกลางที่ครอบคลุม
                  การเลือกปฏิบัติในมิติต่างๆ เช่น แคนาดา ฟินแลนด์ สวีเดน เป็นต้น นอกจากนี้ กฎหมายสิทธิมนุษยชน
                  ระหว่างประเทศมีการจ าแนกระหว่างการปฏิบัติที่แตกต่างกัน (Differential Treatment หรือ Distinction)
                  ซึ่งไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย กับ “การเลือกปฏิบัติ” (Discrimination) ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย โดยมิได้ใช้ค า

                  ว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม”  แต่อย่างไร เนื่องจากหากการปฏิบัติแตกต่างกันนั้นไม่อาจอ้างเหตุที่
                  ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็จะถือว่าเป็นการ “เลือกปฏิบัติ”  ซึ่งมีนัยที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่
                  ในตัวเอง
                         ด้วยเหตุนี้ หากไทยมีการบัญญัติกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติในลักษณะกฎหมายกลางดังเช่นประเทศ

                  ต่างๆ ที่มีกฎหมายลักษณะนี้ ก็ควรจะมีการใช้ถ้อยค าให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
                  ประเทศและกฎหมายประเทศต่างๆ เพื่อจ าแนกความแตกต่างระหว่าง

                         (ก)  การเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่มีขอบเขตเฉพาะการปฏิบัติที่แตกต่างกันอัน

                  เกี่ยวเนื่องจากเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่างๆ และ

                         (ข) การเลือกปฏิบัติในบริบทของกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายปกครอง ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าและ
                  ไม่จ ากัดเฉพาะการปฏิบัติแตกต่างกันด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเท่านั้น





                         ขอบเขตของการเลือกปฏิบัติในกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชน

                         ผลการวิจัยพบว่า การใช้ค า “เลือกปฏิบัติ”  สะท้อนถึงความหมายหลายนัย ในหลายบริบท หาก
                  พิจารณาในกรอบของกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีปัจจัยส าคัญประกอบการพิจารณาได้แก่ เหตุแห่งการเลือก

                  ปฏิบัติ และ มิติของการเลือกปฏิบัติ ประกอบกับปัจจัยอื่น เช่น มาตรการยืนยันสิทธิเชิงบวก หลักการชั่ง
                  น้ าหนักกับผลประโยชน์อื่น หลักความได้สัดส่วน แล้วพบว่า ในหลายกรณีที่มีประเด็นว่าเกิด “การเลือก
                  ปฏิบัติ” นั้น อาจไม่อยู่ในขอบเขตการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ ยังมีกรณีการเลือก
                  ปฏิบัติที่ทับซ้อนกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น รวมทั้งยังมีกรณีการเลือกปฏิบัติในบริบทของกฎหมายอื่น ซึ่ง

                  อาจจ าแนกสรุปได้ 3 กรณีหลักดังนี้

                         กรณีแรก : กรณีการปฏิบัติที่อยู่ในขอบเขตและไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายสิทธิมนุษยชน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16