Page 19 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 19

ด


                         ในส่วนของหลักการเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัตินั้น มีข้อเสนอว่า “การเลือกปฏิบัติโดยอ้อม” ปรากฏอยู่
                  ในข้อเท็จจริง สภาพค าร้อง และค าพิพากษา หลายกรณี แต่มิได้มีการน าหลักนี้มาอธิบายไว้อย่างชัดเจน

                  กฎหมายเฉพาะบางฉบับสะท้อนหลักการนี้ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
                  พ.ศ. 2550 มีหลักการห้ามเลือกปฏิบัติที่มุ่งเน้นที่ผลกระทบ (Effect) ซึ่งท าให้คนพิการเสียสิทธิประโยชน์
                  อันเป็นแนวคิดของการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอ้อม ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะสองแนวทางดังนี้


                         แนวทางแรก แก้ไขกฎหมายเพิ่มเติมหลักการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมให้ชัดเจน โดยอาจจ าแนกออกจาก
                  การเลือกปฏิบัติโดยตรง ดังเช่นกรณีแอฟริกาใต้

                         แนวทางที่สอง เสนอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเช่น ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                  แห่งชาติ น าหลักการเลือกปฏิบัติโดยอ้อมมาอธิบายประกอบการพิจารณากรณีที่มีสภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ
                  การเลือกปฏิบัติโดยอ้อม

                         ประการที่สาม ก าหนดถ้อยค าเกี่ยวกับ “การเลือกปฏิบัติ”  โดยเสนอให้ก าหนดเรียกการปฏิบัติที่

                  แตกต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การเลือกปฏิบัติ” (Discrimination) และก าหนดเรียกการปฏิบัติ
                  ที่แตกต่างกันแต่มีเหตุผลอันสมควรตามที่กฎหมายก าหนด หรือ ไม่เข้าองค์ประกอบเงื่อนไขของการเลือก
                  ปฏิบัติที่ต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การปฏิบัติที่แตกต่างกัน” (Differentiation   หรือ Differential
                  Treatment) โดยไม่น าองค์ประกอบ “เป็นธรรม” (Fair) มาใช้ในการจ าแนกระหว่างการปฏิบัติทั้งสองอย่าง

                  ดังกล่าว

                         ประการที่สี่ การบัญญัติหลักการเกี่ยวกับ“เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ”


                         จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ ในประเด็นของ เหตุแห่งการ
                  เลือกปฏิบัติ เปรียบเทียบกับกฎหมายไทย พบว่ายังมีปัญหาการระบุเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ
                  ตามรัฐธรรมนูญ จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้


                         - เพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางประการให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
                  ระหว่างประเทศ เช่น ก าหนดเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติให้ครอบคลุม “ความคิดเห็นอื่นใด”  นอกเหนือจาก
                  “ความคิดเห็นทางการเมือง”  รวมทั้งก าหนดเหตุครอบคลุม “ความเชื่ออื่น”  นอกจากความเชื่อทาง

                  “ศาสนา”

                         -  เพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางประการให้ครอบคลุมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ตามแนวทาง
                  ของกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประวัติอาชญากรรม การให้นมบุตรจากอกแม่ รวมทั้งก าหนดแจกแจงเหตุแห่ง

                  การเลือกปฏิบัติบางกรณีให้ชัดเจนขึ้น เช่น เหตุแห่ง “เพศ”นั้น เสนอว่าตามกฎหมายหลักเช่นรัฐธรรมนูญควร
                  ระบุรายละเอียด เช่น รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ เป็นต้น

                         อย่างไรก็ตาม ส าหรับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางอย่าง ซึ่งไม่ได้มีการระบุไว้ชัดแจ้งตามรัฐธรรมนูญ

                  เช่น ประวัติอาชญากรรม ผู้ติดเชื้อเอชไอวี การให้นมบุตรจากอกแม่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในแง่หนึ่งนั้น หาก
                  พิจารณากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่า เหตุบางเหตุ เช่น การให้นมบุตรจากอกแม่ เอช
                  ไอวี ประวัติอาชญากรรม มิได้ปรากฏอยู่ในเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่ไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม แต่ในอีก
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24