Page 14 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 14
ฏ
จากผลการวิจัยดังกล่าว ท าให้สามารถจ าแนกความแตกต่างของ “การเลือกปฏิบัติ” ในบริบทต่างๆ
และสามารถจ าแนกว่ากรณีใดอยู่ในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะน าไปสู่การศึกษาต่อไปของการวิจัย
นี้ว่า การเลือกปฏิบัติในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้นกฎหมายปัจจุบันครอบคลุมถึงหรือไม่ เพียงใด
การเลือกปฏิบัติที่กฎหมายไทยยังไม่ครอบคลุมถึง
ผลการวิจัยข้างต้นชี้ให้เห็นว่า กรณีที่มีการกล่าวอ้างและมีการพิจารณาว่าเป็น “การเลือกปฏิบัติ”
นั้น หลายกรณีไม่จัดเป็นการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งจะต้องพิจารณาในบริบทกฎหมายอื่น
ต่อไป อย่างไรก็ตาม ส าหรับประเด็นที่ว่า การปฏิบัติแตกต่างกันอันจัดอยู่ในขอบเขตของ “การเลือกปฏิบัติ”
ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้น กฎหมายไทยปัจจุบันมีขอบเขตครอบคลุมกรณีเหล่านั้นเพียงใด ผลการวิจัย
สรุปจ าแนกได้ดังนี้
(1) ผลการวิเคราะห์ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ”
การเลือกปฏิบัติในขอบเขตของการวิจัยนี้เป็นการพิจารณาในกรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชน ดังนั้น
องค์ประกอบส าคัญที่ท าให้การปฏิบัติอันแตกต่าง (Distinction หรือ Differentiation) ถือเป็นการเลือก
ปฏิบัติ (Discrimination) คือการปฏิบัติอันแตกต่างนั้นต้องสืบเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
(Discrimination Grounds) ซึ่งเหตุดังกล่าวมีการระบุไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมาย
ต่างประเทศ จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายดังกล่าวเปรียบเทียบกับกฎหมายไทย อาจจ าแนกสรุปได้ 4
กรณีดังนี้
กรณีที่หนึ่ง เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่รัฐธรรมนูญของไทยก าหนดในลักษณะที่กว้างกว่าหรือ
เพิ่มเติมจากที่กฎหมายระหว่างประเทศระบุไว้
กรณีที่สอง เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติที่รัฐธรรมนูญของไทยมีการใช้ถ้อยค าในลักษณะที่แคบกว่า
กฎหมายระหว่างประเทศ
กรณีที่สาม เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางกรณีกฎหมายต่างประเทศได้ขยายความจากเหตุดั้งเดิมที่
ระบุไว้ โดยมีการแจกแจงรายละเอียดเพื่อความครอบคลุมและชัดเจน
กรณีที่สี่ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางเหตุมิได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศ แต่กฎหมายต่างประเทศบางประเทศก าหนดครอบคลุมขึ้นมา เพื่อเป็นการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติ
ในปัจจุบันที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะทางสังคม
(2) ขอบเขตและการครอบคลุมของกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับความเสมอภาคและการห้ามเลือก
ปฏิบัติ
ปัจจุบันไทยไม่มีกฎหมายเฉพาะอันมีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติที่
ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่างๆ และ มิติของการเลือกปฏิบัติต่างๆ โดยกฎหมายไทยที่เป็นอยู่ มี
ลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะที่มีขอบเขตจ ากัดในเชิงเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ และ/หรือ มิติของการเลือก
ปฏิบัติ เช่น ครอบคลุมเฉพาะบางเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น เหตุแห่งเพศ เหตุแห่งอายุ หรือครอบคลุม