Page 17 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 17
ฒ
กรณีที่สอง กฎหมายที่คุ้มครองเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเพียงเหตุเดียว แต่ครอบคลุมมิติของการเลือก
ปฏิบัติหลายมิติ เช่น กฎหมายคุ้มครองการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยมีขอบเขตห้ามเลือกปฏิบัติต่อคน
พิการในหลายมิติ เช่น การศึกษา การจ้างแรงงาน การเข้าถึงสินค้าและบริการ
กรณีที่สาม กฎหมายที่มีขอบเขตเฉพาะการเลือกปฏิบัติมิติหนึ่ง แต่ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติหลายเหตุ เช่น กฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับแรงงาน วางหลักห้ามการเลือกปฏิบัติด้านแรงงานด้วยเหตุแห่ง
เพศ ความพิการ อายุ ศาสนา เป็นต้น
รูปแบบที่ 3 มีลักษณะผสมผสานระหว่างรูปแบบที่ 1 และ รูปแบบที่ 2 กล่าวคือ มีการก าหนด
กฎหมายกลางที่ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติหลายเหตุ และ ครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติหลาย
มิติ อย่างไรก็ตาม นอกจากกฎหมายกลางนี้แล้ว ยังมีกฎหมายฉบับอื่นๆที่มีลักษณะเป็นกฎหมายเฉพาะ
ส าหรับการห้ามเลือกปฏิบัติในบางมิติ หรือบางเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ จากการศึกษาพบว่า การบัญญัติ
กฎหมายคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติในต่างประเทศ มักจะใช้รูปแบบที่ 3
จากการศึกษาวิเคราะห์กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติ เมื่อน ามาพิจารณาภายใต้
กรอบการจ าแนกรูปแบบทั้งสามดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศที่จัดอยู่ในรูปแบบที่หนึ่ง เช่น แคนาดา
สวีเดน ประเทศที่จัดอยู่ในรูปแบบที่สอง เช่น อินเดีย ประเทศที่จัดอยู่ในรูปแบบที่สาม เช่น ออสเตรเลีย
สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ในกรณีของประเทศไทย พบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเฉพาะที่วางหลักห้ามเลือกปฏิบัติ
อันเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางเหตุและเกี่ยวข้องกับมิติของการเลือกปฏิบัติบางด้าน แต่ยังไม่มี
กฎหมายกลางที่ครอบคลุมอย่างกว้างถึงเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติและมิติของการเลือกปฏิบัติทั้งหมดใน
ภาพรวมดังเช่นในกรณีประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฟินแลนด์ ประเทศสวีเดน ประเทศแคนาดา
ออสเตรเลีย ดังนั้นในกรณีของประเทศไทยจึงอาจจัดอยู่รูปแบบที่สอง ซึ่งน าไปสู่ปัญหาส าคัญที่ว่า กฎหมาย
เฉพาะต่างๆ ดังกล่าวนั้นยังไม่ครอบคลุมถึงการเลือกปฏิบัติและการกระท าที่ละเมิดต่อหลักความเสมอภาค
หรือความเท่าเทียมกัน เช่น กรณีการคุกคาม (Harassment) ด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติอื่นๆ นอกจากเหตุ
แห่งเพศ การคุกคามทางเพศในสถานที่ท างานที่เกิดขึ้นระหว่างลูกจ้างด้วยกันเอง และกรณีสภาพแวดล้อม
การท างานในลักษณะคุกคาม (Hostile Working Environment) การปฏิบัติต่อบุคคลอื่นในลักษณะเป็นที่พึง
พอใจน้อยกว่าในที่สาธารณะหรือการปฏิบัติต่อบุคคลอื่นในลักษณะด้อยกว่า การปฏิเสธการให้บริการหรือ
จ าหน่ายสินค้าด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ การสื่อสารที่ท าให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นต้น
ท าให้ยังมีการเลือกปฏิบัติหลายกรณีที่กฎหมายไทยยังไม่ครอบคลุมถึง เนื่องจากไม่อยู่ในขอบเขตของ
กฎหมายเฉพาะที่มีอยู่ และไม่มีกฎหมายกลางที่มีขอบเขตกว้างมารองรับ
ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากผลการวิจัยชี้ให้เห็นประเด็นเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติทั้งในภาพรวมและในกรณีเฉพาะหลาย
ประเด็น ผู้วิจัยจึงได้จ าแนกข้อเสนอแนะดังนี้
(1) ข้อเสนอแนะในภาพรวม