Page 20 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 20

ต


                  แง่หนึ่งนั้น อาจพิจารณาได้ว่า เหตุดังกล่าวมีความส าคัญและการน าเหตุดังกล่าวมาปฏิบัติต่อบุคคลแตกต่าง
                  กันนั้นส่งผลกระทบต่อสิทธิพื้นฐานของบุคคลในด้านต่างๆเช่นการประกอบอาชีพ การใช้บริการต่างๆ ดังนั้นก็

                  ควรมีการคุ้มครองความเท่าเทียมกันของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะสองแนวทางดังนี้

                         แนวทางแรก ไม่ก าหนดหรือระบุเหตุเหล่านี้เป็นเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติไว้อย่างชัดแจ้งในกฎหมาย
                  แต่ใช้วิธีการ ตีความ ให้อยู่ในเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น ตีความประวัติอาชญากรรมว่าอยู่ในเหตุ “สถานะ

                  ของบุคคล” ตีความผู้ติดเชื้อเอชไอวีว่าอยู่ในเหตุ “สุขภาพ” ส าหรับ การให้นมบุตรจากอกแม่ ตีความว่าอยู่ใน
                  เหตุ “เพศ” เป็นต้น

                         แนวทางที่สอง เสนอให้มีการบัญญัติเพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางอย่างเหล่านี้ไว้ให้ชัดเจนใน

                  กฎหมายเช่น เพิ่มเติมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งอาจจ าต้องมีการตรากฎหมาย
                  ล าดับรองเป็นการเฉพาะส าหรับการห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุเหล่านี้ เช่น แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครอง
                  แรงงานโดยการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุดังกล่าว


                         (3) ข้อเสนอในการต่อยอดการวิจัย

                         จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาของกฎหมายไทยปัจจุบันซึ่งยังไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติ
                  ตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงน าไปสู่ข้อเสนอแนะในการบัญญัติกฎหมายกลาง อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของ

                  งานวิจัยนี้ยังไม่ครอบคลุมถึงการน าเสนอร่างกฎหมายกลางดังกล่าวในรายละเอียด จึงควรมีการศึกษา
                  วิเคราะห์จัดท าร่างกฎหมายกลางเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติเพื่อด าเนินการรับฟังความคิดเห็นและเข้าสู่
                  กระบวนการเสนอกฎหมายตามล าดับต่อไป


                         ขอบเขตและความหมายของการเลือกปฏิบัติ อาจพิจารณาได้หลายมิติและในหลายบริบทกฎหมาย
                  จึงเสนอให้มีการต่อยอดการวิจัยในบริบทของกฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชน ในประเด็นขอบเขต
                  ความหมายของการเลือกปฏิบัติเพื่อเปรียบเทียบและจ าแนกความแตกต่างกับความหมายและขอบเขตใน

                  บริบทสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดแนวทางที่ชัดเจนในการพิจารณากฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องต่อไป

                         เนื่องจากการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาภาพรวมของปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับหลัก
                  ความเท่าเทียมกันหรือหลักความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติในประเทศไทย โดยมิได้มุ่งศึกษาเฉพาะ

                  กรณีปัญหากรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนั้น ในส่วนที่สองของงานวิจัยนี้จึงเป็นเพียงการหยิบยกประเด็นปัญหาต่างๆ
                  ที่เกิดขึ้นจากการส ารวจ ศึกษา และการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จัดกลุ่มสนทนา รับฟังความคิดเห็น มา
                  ท าการวิเคราะห์ภายใต้กรอบแนวคิดกฎหมายสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหาในภาพรวมว่าภายใต้
                  กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น การคุ้มครองความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติเพียงพอและครอบคลุม

                  แล้วหรือไม่ เพียงใด ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ายังมีหลายกรณีที่กฎหมายปัจจุบันไม่ครอบคลุมถึง จึงน าไปสู่
                  ข้อเสนอแนะในการมีกฎหมายกลางดังกล่าว ดังนั้น ในส่วนของการต่อยอดการวิจัย จึงเสนอให้มีการศึกษา
                  ประเด็นเฉพาะกรณีศึกษาเป็นรายกรณีในเชิงลึกต่อไป
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25