Page 12 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 12
ญ
การเลือกปฏิบัติที่อยู่ในขอบเขตและไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งยังสามารถ
จ าแนกออกเป็น 5 กรณีย่อยดังต่อไปนี้
(1) การเลือกปฏิบัติในขอบเขตของกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ การปฏิบัติที่แตกต่างนั้น
เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น เหตุแห่งความพิการ สภาพร่างกาย เป็นต้น
(2) การปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันไม่อยู่ในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการห้ามเลือก
ปฏิบัติ : กรณีจากค าร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่ามีหลายกรณีเกี่ยวข้องกับการกล่าว
อ้างว่ามีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
(3) การปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันไม่อยู่ในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการห้ามเลือก
ปฏิบัติ : กรณีจากค าพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ พบว่ามีหลายกรณีเกี่ยวข้องกับการกล่าวอ้างว่ามีการเลือก
ปฏิบัติเนื่องจากการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ้าง
ว่ากฎระเบียบที่พิพาทนั้นขัดต่อหลักความเท่าเทียมกันโดยไม่ปรากฏความเกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
(4) การปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันไม่อยู่ในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการห้ามเลือก
ปฏิบัติ : กรณีค าวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ คณะกรรมการกฤษฎีกา พบว่าค าวินิจฉัยดังกล่าวมี
ขอบเขตที่กว้างกว่าเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งสะท้อนแนวคิดการพิจารณา “การ
เลือกปฏิบัติ” บนพื้นฐานของกฎหมายปกครอง
(5) การปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันไม่อยู่ในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับการห้ามเลือก
ปฏิบัติ : กรณีข้อเท็จจริงจากการรับฟังความคิดเห็น / สัมภาษณ์/ ประชุมกลุ่มย่อย พบว่ามีหลายกรณีที่
บุคคลเห็นว่าตนได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันกับบุคคลอื่น ก็จะอ้างว่า “ถูกเลือกปฏิบัติ” รวมไปถึงใน
ขอบเขตที่กว้างกว่านั้น กล่าวคือแม้แต่ในกรณีที่บุคคลเห็นว่าตน “ไมได้รับความเป็นธรรม” ก็มักมีการอ้างว่า
“ถูกเลือกปฏิบัติ” ไปด้วย อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างดังกล่าว หากพิจารณาในกรอบของกฎหมายสิทธิ
มนุษยชนแล้ว อาจไม่อยู่ในขอบเขตของกฎหมายสิทธิมนุษยชน เช่น การรับสมัครงานโดยระบุเจาะจง
“สถาบันการศึกษา” หรือการพิจารณารับบุคคลเข้าท างานจาก “สถาบันการศึกษา” การที่ภาคเอกชนให้คุณ
หรือให้สิทธิพิเศษกับบุคคลโดยอาศัยคุณสมบัติหรือเงื่อนไขบางประการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือก
ปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมายที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลในข้อเท็จจริงเหมือนกันโดยไม่ปรากฎว่าเกี่ยวข้องกับ
เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น
กรณีที่สอง กรณีมีความคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่น
จากการศึกษาวิเคราะห์ค าร้องและการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรอบของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาตินั้น พบว่ามีหลายกรณีที่ผู้ร้องอ้างว่ามีการ “เลือกปฏิบัติ” เกิดขึ้น ซึ่งมัก
เป็นกรณีการน าข้อเท็จจริงสองข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกันว่ามีการปฏิบัติต่อข้อเท็จจริงดังกล่าวแตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามหากพิจารณาภายใต้กรอบของกฎหมายสิทธิมนุษยชนแล้วจะเห็นได้ว่า ในหลายกรณีตามค าร้อง
นั้น การปฏิบัติแตกต่างกันดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับ “เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ” ตามกฎหมายสิทธิ
มนุษยชน หรืออาจพิจารณาว่าเป็นการอ้างเหตุที่กว้างกว่ากฎหมายสิทธิมนุษยชน หรือเป็นกรณีของกฎเกณฑ์