Page 18 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 18

ณ


                         จากปัญหาขอบเขตกฎหมายไทยที่มีผลบังคับอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลการวิจัยภายใต้กรอบแนวคิดของ
                  การเลือกปฏิบัติในขอบเขตกฎหมายสิทธิมนุษยชนนั้น พบว่ายังไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในหลายกรณี จึง

                  น ามาสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ด้วยการเสนอให้มีการบัญญัติ กฎหมายกลาง
                  ที่เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุต่างๆ ตามที่รับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายไทย
                  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง
                  เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ รวมทั้ง

                  ครอบคลุมเหตุอื่นที่มีความจ าเป็นในสังคมปัจจุบัน

                         ส าหรับรูปแบบของกฎหมายกลางของประเทศไทยนั้น จากผลการวิจัยที่ได้ศึกษาระบบโครงสร้าง
                  กฎหมายของต่างประเทศในการห้ามเลือกปฏิบัติและได้จ าแนกเป็น 3 รูปแบบนั้น พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่

                  ในรูปแบบที่สอง กล่าวคือมีกฎหมายเฉพาะบางฉบับที่ครอบคลุมบางมิติหรือบางเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ จึง
                  ท าให้ไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในประเด็นที่อยู่นอกขอบเขตกฎหมายเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อเสนอ 2
                  แนวทางคือ


                         แนวทางแรก เสนอให้ไทยปรับโครงสร้างกฎหมายโดยยกเลิกกฎหมายเฉพาะฉบับต่างๆที่มีหลักการ
                  ห้ามเลือกปฏิบัติ โดยรวมหลักการห้ามเลือกปฏิบัติเข้ามาอยู่ในกฎหมายกลางอันเป็นกฎหมายหลักฉบับเดียว
                  ซึ่งเป็นแนวทางของสวีเดนในการปรับปรุงกฎหมายเลือกปฏิบัติ โดยแนวทางนี้จะท าให้ไทยปรับเปลี่ยนจาก

                  รูปแบบที่สองไปเป็นรูปแบบแรก

                         แนวทางที่สอง เสนอให้ไทยปรับโครงสร้างกฎหมายไปอยู่ในรูปแบบที่สาม กล่าวคือ เพิ่มเติม
                  กฎหมายกลาง โดยที่ยังคงกฎหมายเฉพาะฉบับต่างๆไว้ ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายกลางสามารถครอบคลุมการ

                  เลือกปฏิบัติอื่นๆ ที่อยู่นอกขอบเขตของกฎหมายเฉพาะดังกล่าวนั่นเอง

                         (2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

                         แม้ว่าหลักของรัฐธรรมนูญจะรับรองถึงความเท่าเทียมกันและห้ามเลือกปฏิบัติ แต่ก็ยังคงมีปัญหาถึง

                  ความชัดเจนในการคุ้มครองการเลือกปฏิบัติระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกันและปัญหาอื่นๆ ผู้วิจัยจึงมี
                  ข้อเสนอแนะ 3 ประการดังนี้

                         ประการแรก การบัญญัติหลักการเลือกปฏิบัติภาครัฐและภาคเอกชน


                         ผู้วิจัยมีข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการเลือกปฏิบัติโดย วางหลักรับรองความ
                  เท่าเทียมกันและห้ามเลือกปฏิบัติทั่วไป โดยแยกการเลือกปฏิบัติออกเป็นการกระท าของรัฐ และ เอกชน


                         ในส่วนภาครัฐนั้น เสนอให้มีหลักการว่า “รัฐจะต้องไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมทั้งโดยตรงและ
                  โดยอ้อมต่อบุคคล ด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติซึ่งรวมถึง เชื้อชาติ เพศ การตั้งครรภ์ สถานะความเป็นมารดา
                  ชาติก าเนิด สีผิว รสนิยมทางเพศ อายุ ความพิการ ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา และถิ่นก าเนิด…”


                         ในส่วนของภาคเอกชนนั้น เสนอให้มีหลักการว่า “บุคคลจะต้องไม่กระท าการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น
                  ธรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อบุคคลอื่นด้วยเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติต่างๆ .....  ในการนี้รัฐต้องมีกฎหมาย
                  เพื่อป้องกันและห้ามการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว”


                         ประการที่สอง การบัญญัติหลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยอ้อม
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23