Page 10 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 10
ซ
กับการเข้าห้องน้ า การเลือกปฏิบัติในมิติเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร กรณีการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าหรือ
บริการส าหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น
ผลการวิจัย ที่ส าคัญสรุปได้ดังนี้
หลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมกัน (Equality Principle)
จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของรัฐธรรมนูญไทยและต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับการ
วางหลักความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกัน อาจจ าแนกรูปแบบและโครงสร้างของรัฐธรรมนูญในการ
บัญญัติหลักความเท่าเทียมกันได้ 3 รูปแบบดังนี้
รูปแบบแรก ก าหนดจ าแนกหลักความเท่าเทียมกัน ออกเป็น 3 กรณี คือ ความเสมอภาคหรือความ
เท่าเทียมกันทั่วไป ความเสมอภาคเฉพาะเรื่อง และ หลักห้ามเลือกปฏิบัติ เช่น เยอรมัน ไทย ฟินแลนด์
รูปแบบที่สอง ก าหนดจ าแนกหลักความเท่าเทียมกัน ออกเป็น 2 กรณี คือ ความเสมอภาคหรือความ
เท่าเทียมกัน และ หลักการห้ามเลือกปฏิบัติ โดยมิได้จ าแนกความเสมอภาคเฉพาะเรื่องออกจากความเสมอ
ภาคทั่วไป
รูปแบบที่สาม ไม่ระบุถึงหลักความเสมอภาคหรือหลักความเท่าเทียมไว้ โดยมีเพียงก าหนดหลักการ
“ห้ามเลือกปฏิบัติ” เช่น สวีเดน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (Unfair / Unjust Discrimination)
ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายเฉพาะของไทยหลายฉบับ ได้มีการใช้ค าว่า “การเลือกปฏิบัติโดย
ไม่เป็นธรรม” ซึ่งท าให้เกิดประเด็นปัญหาว่า การใช้ค าดังกล่าวสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศเพียงใด
และกฎหมายต่างประเทศมีรูปแบบการก าหนดถ้อยค าดังกล่าวอย่างไร จากการศึกษากฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในการบัญญัติห้ามการเลือกปฏิบัตินี้ มี
รูปแบบการบัญญัติกฎหมายและการใช้ถ้อยค าที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์และหลักการเช่นเดียวกัน
คือการจ าแนกระหว่าง “การกระท าที่ต้องห้ามตามกฎหมาย” และ “การกระท าที่ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย”
ซึ่งอาจจ าแนกออกเป็นรูปแบบการบัญญัติกฎหมาย 4 ลักษณะ ดังนี้
1. ก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็น
ธรรม” (Unfair Discrimination) และก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่มีเหตุผลอันสมควรตามที่
กฎหมายก าหนดว่า “การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรม” ดังเช่นกรณีกฎหมายแอฟริกาใต้
2. ก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การเลือกปฏิบัติที่มิชอบด้วย
กฎหมาย” (Unlawful Discrimination) และก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่มีเหตุผลอันสมควร
ตามที่กฎหมายก าหนดว่า “การเลือกปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย” ดังเช่นกรณีกฎหมายออสเตรเลีย
3. ก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อันต้องห้ามตามกฎหมายว่า “การกระท าที่เป็นการเลือก
ปฏิบัติ” (Discriminatory Practice) และก าหนดเรียกการปฏิบัติที่แตกต่างกันแต่มีเหตุผลอันสมควร