Page 16 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 16
ฑ
ในการท างาน กรณีเช่นนี้มีลักษณะเป็นการคุกคาม (Harassment) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุทางเพศ และไม่มี
กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติที่จะครอบคลุมถึง
- เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางกรณียังอาจไม่ครอบคลุมดังที่ได้สรุปไว้แล้วข้างต้น เช่น “ความคิดเห็น
อื่นใด” ที่กว้างกว่าความคิดเห็นทางการเมือง และ “ความเชื่อ” ที่กว้างและไม่ผูกพันกับ “ศาสนา” หรือใน
บางเหตุยังต้องมีการตีความ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส าหรับเหตุ “การตั้งครรภ์” อาจจัดอยู่ในเหตุแห่ง “เพศ”
ได้ แต่ยังมีปัญหาในแง่กฎหมายที่เกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติในมิตินี้ โดยอาจมีกฎหมายบางฉบับที่เกี่ยวข้อง
เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ยังไม่ครอบคลุมมิติอื่น เช่น การให้บริการต่างๆ ของภาคเอกชน นอกจากนี้
เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติบางอย่าง กฎหมายต่างประเทศก าหนดไว้โดยเฉพาะแต่ส าหรับประเทศไทยยังไม่มี
การก าหนดเฉพาะเช่น ประวัติการกระท าความผิดทางอาญา เป็นต้น ซึ่งแม้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติไม่พบว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือเป็นการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตามเหตุนี้อาจยังเป็นที่
ถกเถียงและมีประเด็นเกี่ยวกับหลักคุณสมบัติความจ าเป็นส าหรับงานนั้นด้วย
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องยังไม่ครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในขอบเขตของกฎหมาย
สิทธิมนุษยชน เนื่องจากขาดกฎหมายกลางที่จะใช้กับกรณีที่นอกเหนือจากขอบเขตของกฎหมายเฉพาะ
ดังกล่าว อันจะน าไปสู่ข้อเสนอแนะต่อไป
(3) รูปแบบการบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ (Model of Discrimination Laws)
ผลการศึกษาวิเคราะห์หลักกฎหมายต่างประเทศ พบว่า มีรูปแบบการบัญญัติกฎหมายที่แตกต่างกัน
ในการวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันและการห้ามเลือกปฏิบัติ ผู้วิจัยจึงได้ท าการจ าแนกตัวแบบ
(Model) ของการก าหนดกฎหมาย โดยพิจารณาจากปัจจัยส าคัญสองประการ ได้แก่ เหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
(Grounds of Discrimination) และ มิติของการเลือกปฏิบัติ (Area of Discrimination) ซึ่งอาจจ าแนกได้ 3
รูปแบบหลักดังนี้
รูปแบบที่ 1 บัญญัติกฎหมายเฉพาะฉบับเดียวเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติ ซึ่งมีลักษณะเป็น
กฎหมายกลาง กล่าวคือ ครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติหลายเหตุ และ ครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติ
หลายมิติ เช่น การตรากฎหมายสิทธิมนุษยชน วางหลักห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ อายุ เชื้อชาติ สีผิว
โดยครอบคลุมการเลือกปฏิบัติในมิติการจ้างแรงงาน การศึกษา การได้รับบริการและสินค้า
รูปแบบที่ 2 บัญญัติกฎหมายเฉพาะหลายฉบับ แต่ละฉบับครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเฉพาะ
บางเหตุ และครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติเฉพาะบางมิติ ส าหรับในรูปแบบนี้ ยังอาจจ าแนกพิจารณาได้
3 กรณีย่อย ได้แก่
กรณีแรก กฎหมายที่คุ้มครองเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเพียงเหตุเดียว และ ครอบคลุมมิติของการ
เลือกปฏิบัติเพียงมิติเดียว เช่น กฎหมายคุ้มครองการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในการศึกษา กฎหมายลักษณะนี้
จะครอบคลุมเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติเฉพาะเหตุด้านความพิการ และ ครอบคลุมมิติของการเลือกปฏิบัติ
เฉพาะมิติทางการศึกษา