Page 13 - รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง กฎหมายว่าด้วยความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติ
P. 13

ฎ


                  หรือการปฏิบัติที่เป็นกลาง (Neutral)  ซึ่งมีผลเป็นการปฏิบัติหรือบังคับกับทุกคนเหมือนกัน ซึ่งอาจสรุป
                  จ าแนกได้ 4 กรณีย่อยดังนี้


                         (1) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิในความ
                  เป็นอยู่ส่วนตัว เช่น กรณีการน าร่างของผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มาจัดแสดง การค้นตัวบุคคลโดยภาคเอกชน
                  ในธุรกิจหรือการจ้างแรงงาน


                         (2) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติกับการละเมิดเสรีภาพในทางศาสนา กรณีปัญหา
                  ลักษณะนี้มีตัวอย่างเช่นระเบียบในสถานที่ท างานหรือสถานศึกษาเกี่ยวกับการแต่งกายตามศาสนา


                         (3) กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการศึกษา เช่น
                  การปฏิบัติต่อนักเรียน นักศึกษา ที่แตกต่างกัน โดยบางกรณีก็ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติตาม
                  กฎหมายสิทธิมนุษยชน เช่น กรณีเหตุแห่งการพักการเรียนเกี่ยวข้องกับ “พฤติกรรม”  แต่กระทบสิทธิด้าน
                  การศึกษาของนักเรียน


                         (4)  กรณีที่อาจคาบเกี่ยวระหว่างการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิของบุคคลในกระบวนการ
                  ยุติธรรม เช่น ผู้ร้องอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในการด าเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
                         อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปฏิบัติที่พิพาทดังกล่าวจะไม่อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับ

                  การห้ามเลือกปฏิบัติ แต่ก็ยังสามารถอยู่ในขอบเขตอ านาจการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                  แห่งชาติได้ เพราะอาจเป็นการกระทบ  “สิทธิมนุษยชน” ในแง่อื่น “ที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตาม
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือ ตามกฎหมายไทย หรือ ตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่
                                  2
                  จะต้องปฏิบัติตาม”  เช่น การปฏิบัติที่แตกต่างกันอันกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา การ
                  ปฏิบัติที่กระทบต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เสรีภาพในการสื่อสาร เป็นต้น

                         กรณีที่สาม “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ในบริบทของกฎหมายปกครอง


                         ผลการวิจัยจากการวิเคราะห์ค าพิพากษาศาลปกครองชี้ให้เห็นว่า การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ใน
                  บริบทของคดีปกครอง  (มาตรา 9 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.
                  2542) นั้น มีขอบเขตและลักษณะที่แตกต่างจาก “การเลือกปฏิบัติ” ในบริบทของกฎหมายสิทธิมนุษยชน

                  กล่าวคือ “การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม” ตามกฎหมายปกครองนั้น เป็นการพิจารณา “การปฏิบัติที่แตกต่าง
                  กัน” ในกรอบของการตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐโดยมิชอบ และมักมีข้อเท็จจริงที่สัมพันธ์กับ “การใช้ดุลพินิจ
                  ของฝ่ายปกครองโดยมิชอบ”  จึงอาจครอบคลุมถึงการปฏิบัติแตกต่างกันโดยไม่เป็นธรรม การใช้ดุลพินิจ
                  โดยมิชอบ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ เช่น เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฯลฯ ตามกฎหมายสิทธิ

                  มนุษยชน หรืออาจเรียกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติในความหมายที่กว้างกว่ากฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งอยู่บน
                  พื้นฐานแนวคิดและหลักการของกฎหมายปกครองอันควรมีการศึกษาและพิจารณาแยกอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
                  จากการเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ในบริบทของกฎหมายสิทธิมนุษยชน









                  2  พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542, มาตรา 3
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18