Page 74 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 74

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




                              ๓) ในระหว่างการด�าเนินการตามข้อ ๑) และ ๒) ควรก�าหนดมาตรการชั่วคราวให้หญิงวัยเจริญพันธุ์
            ต้องได้รับประทานกรดโฟลิกเสริมในปริมาณที่เหมาะสมตามความเห็นของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในระยะก่อนปฏิสนธิ ๓ เดือน
            ต่อเนื่องจนถึงช่วงที่มีการปฏิสนธิแล้วครบก�าหนด ๓ เดือน
                        (๒.๓) ควรให้ (๒.๓.๑) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยส�านักงานคณะกรรมการ นโยบาย

            วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (๒.๓.๒) ส�านักนายกรัฐมนตรี โดยส�านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
            ส�านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ (๒.๓.๓) กระทรวง
            สาธารณสุข โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สนับสนุนจัดสรรหรือหาแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยส�าหรับพัฒนานโยบาย   บทที่ ๒
            และแผนการด�าเนินงานส�าหรับการก�าหนดเติมกรดโฟลิกเป็นส่วนประกอบในอาหารจนสามารถปฏิบัติได้จริง



                     ความส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                     ส�านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งผลด�าเนินการว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติ

            ราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีค�าสั่งมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก รับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับ
            กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส�านักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงาน
            ที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอดังกล่าว และให้กระทรวงสาธารณสุขสรุปผลการพิจารณา
            หรือผลด�าเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้ส�านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน เพื่อน�าเสนอ

            คณะรัฐมนตรีต่อไป


            กรณีที่  ๖  สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ  กรณีกล่าวอ้างว่าพระราชบัญญัติธุรกิจ
            รักษาความปลอดภัย  พ.ศ.  ๒๕๕๘  ก�าหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของ
            พนักงานรักษาความปลอดภัยมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ



                     ประเด็นการร้องเรียน



                     ผู้ร้องได้ร้องเรียนขอให้มีข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ละเมิด
            ต่อหลักการสิทธิมนุษยชน กรณีกล่าวอ้างว่า บทบัญญัติมาตรา ๓๔ ข้อ ก. (๓) และข้อ ข. (๓) ที่ก�าหนดคุณสมบัติและ
            ลักษณะต้องห้ามของพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นบทบัญญัติที่ขัดแย้งต่อสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพของ
            พนักงานรักษาความปลอดภัยเดิมและกระทบต่อบริษัทรักษาความปลอดภัย และบทนิยามของค�าว่า “ธุรกิจรักษา

            ความปลอดภัย” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ มีลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ให้บริการ
            ในธุรกิจรักษาความปลอดภัยเอกชน


                     การด�าเนินการ



                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีการก�าหนดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยต้อง
            ส�าเร็จการศึกษาภาคบังคับ เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นไป
            เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัยในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และเมื่อพิจารณาถึง

            มาตรฐานระหว่างประเทศ ได้แก่ แนวปฏิบัติระหว่างประเทศส�าหรับการให้บริการรักษาความปลอดภัยเอกชน (International
            Code of Conduct for Private Security Service Provider: PSCs) ที่กล่าวถึงคุณสมบัติของพนักงานรักษาความ
            ปลอดภัยโดยให้ความส�าคัญกับมาตรฐานและทักษะในการท�างาน โดยไม่ได้ระบุถึงระดับการศึกษา คณะกรรมการ
            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเห็นว่า ระดับการศึกษามิได้เป็นหลักประกันว่าผู้ที่ส�าเร็จการศึกษาภาคบังคับจะปฏิบัติหน้าที่รักษา

                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 73
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79