Page 76 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 76
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
กฎหมาย และค�านึงถึงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลโดยให้หลายฝ่าย มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะความสามารถและการ
ฝึกอบรมของพนักงานรักษาความปลอดภัย รวมทั้งจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะท�าให้ภาคเอกชน มีความรับผิดชอบใน
การด�าเนินธุรกิจมากขึ้น
(๓) คณะรัฐมนตรี โดยส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ คณะกรรมการก�ากับธุรกิจรักษาความปลอดภัย องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึก และภาคธุรกิจรักษาความปลอดภัยเอกชน ควรหารือร่วมกันก�าหนดให้มีการประเมินต้นทุน
ของการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ การบริหารจัดการประเภทงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยที่เป็นธรรม เช่น
การย้ายเปลี่ยนสถานที่ให้บริการรักษาความปลอดภัยของพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ที่จะต้องมีการจดแจ้งทุกครั้ง บทที่ ๒
และมีกระบวนการประเมินผลกระทบของกฎหมาย (RIA) ว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายนี้หรือไม่ทุกระยะเวลา ๒ ปี
ภายหลังพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายมีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(๑) คณะรัฐมนตรี โดยส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ควรทบทวนการก�าหนดคุณสมบัติส�าเร็จการศึกษาภาคบังคับ
ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับในมาตรา ๓๔ ก. (๓) แห่งพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๘
(๒) คณะรัฐมนตรี โดยส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ควรทบทวนการก�าหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลา ๓ ปี ที่
ห้ามผู้ที่เคยได้รับโทษจ�าคุกโดยค�าพิพากษาถึงที่สุดให้จ�าคุกส�าหรับความผิดที่ระบุไว้ตามมาตรา ๓๔ ข. (๓) แห่งพระราช
บัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมในแต่ละฐานความผิดที่ก�าหนดระยะเวลา
จ�ากัดสิทธิในการท�างานให้สอดคล้องกับคุณธรรมทางกฎหมายเพื่อมิให้ถูกจ�ากัดสิทธิที่ใช้ระยะเวลาที่เท่ากันในแต่ละฐาน
ความผิด
(๓) คณะรัฐมนตรี โดยส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ควรทบทวนโดยยกเลิกการก�าหนดคุณสมบัติเรื่องสัญชาติไทย
ของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๓๔ ก. (๑)
(๔) คณะรัฐมนตรี โดยส�านักงานต�ารวจแห่งชาติและคณะกรรมการก�ากับธุรกิจรักษาความปลอดภัยควรออกกฎหมาย
ก�าหนดให้มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยและมาตรฐานหลักสูตรการรักษาความปลอดภัยโดยค�านึงถึงความส�าคัญของ
สิทธิมนุษยชน
ความส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้มีค�าสั่งมอบหมายให้ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติเป็นหน่วย
งานหลักรับเรื่องไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม ส�านักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา ส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและ
ความเหมาะสมของข้อเสนอของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ รับทราบผลการพิจารณาและผลการด�าเนินการตามข้อเสนอ
แนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายตามที่ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติเสนอ สรุปสาระส�าคัญได้ว่า กรณีการ
ก�าหนดวุฒิการศึกษาของพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความปลอดภัยที่เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 75