Page 70 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 70
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
เนื่องจากขาดกระบวนการมีส่วนร่วมที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๕๗
มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ซึ่งรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา
๔ รวมทั้งกระบวนการอนุญาตให้ก่อสร้างท่าเทียบเรือดังกล่าวยังขัดต่อประกาศกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมือง
สมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ และการพิจารณาให้บริษัท ก. แก้ไขโครงสร้าง
ท่าเทียบเรือรวมถึงการขุดลอกร่องน�้าใหม่ โดยส�านักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรสงคราม เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่
รอบด้าน นอกจากนี้ ยังพบว่ากระบวนการพิจารณาต่อใบอนุญาตก่อสร้างอาคารคลังก๊าซโดยองค์การบริหารส่วนต�าบล
แหลมใหญ่ (ผู้ถูกร้องที่ ๒) มิได้ค�านึงถึงการใช้ประโยชน์ที่แท้จริงในที่ดินของบริษัท ก. และเงื่อนไขข้อก�าหนดการใช้ บทที่ ๒
ประโยชน์ในที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง เป็นการกระท�าที่ขัดต่อประกาศกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมือง
สมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ อีกด้วย จึงก�าหนดมาตรการการแก้ไขปัญหา
การละเมิดสิทธิมนุษยชนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด�าเนินการ
ส�าหรับประเด็นการจัดท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการคลังเก็บก๊าซ ท่าเทียบ
เรือของคลังก๊าซ และการสร้างถนนของผู้ถูกร้องที่ ๑ พิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการก่อสร้างคลังเก็บก๊าซเป็นโครงการ
ที่ไม่ต้องจัดท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ เรื่อง
“การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่องทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน�้าที่มีความส�าคัญระดับนานาชาติ และ
ระดับชาติของประเทศไทยและมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน�้า” เนื่องจากเป็นโครงการลานบรรจุก๊าซ (คลังก๊าซ) แอลพีจี ที่ตั้งอยู่ใน
พื้นที่ของเอกชน ส่วนโครงการท่าเทียบเรือรับก๊าซแอลพีจี ไม่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดท�ารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�าหนดประเภทและขนาดของ
โครงการหรือกิจการที่ต้องจัดท�ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดท�า
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ เนื่องจากขนาดของท่าเทียบเรือต�่ากว่าที่เกณฑ์
ที่ก�าหนด และการก่อสร้างถนนของผู้ถูกร้องที่ ๑ ไม่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับเดียวกัน แม้จะตัดผ่านพื้นที่ที่อยู่ใน
หรือใกล้พื้นที่ชุ่มน�้าที่มีความส�าคัญระหว่างประเทศ หรือแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นบัญชีแหล่งมรดกโลกตามอนุสัญญาระหว่าง
ประเทศในระยะทาง ๒ กิโลเมตร เนื่องจากเป็นถนนที่เอกชนด�าเนินการ ไม่เข้าข่ายนิยามของค�าว่า “ทางหลวง” ตามกฎหมาย
ว่าด้วยทางหลวง จึงให้มีข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายไปยังคณะรัฐมนตรี
มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๑) จังหวัดสมุทรสงคราม (ผู้ถูกร้องที่ ๓) และส�านักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสมุทรสงคราม ซึ่งรับมอบอ�านาจ
จากอธิบดีกรมเจ้าท่า (ผู้ถูกร้องที่ ๔) ควรพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างท่าเทียบเรือขนาดไม่เกิน ๕๐๐ ตันกรอส
บริเวณหมู่ที่ ๗ ต�าบลแหลมใหญ่ อ�าเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ของบริษัท ก. (ผู้ถูกร้องที่ ๑) เนื่องจาก
ขัดต่อการประกาศกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๒
มิถุนายน ๒๕๕๘ อีกทั้งการด�าเนินโครงการขาดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติที่รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา
๕๗ มาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ซึ่งรับรองโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔
(๒) องค์การบริหารส่วนต�าบลแหลมใหญ่ (ผู้ถูกร้องที่ ๒) ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ควรพิจารณาเพิกถอนการต่อใบอนุญาตก่อสร้างอาคารคลังก๊าซ ของผู้ถูกร้องที่ ๑ เมื่อวันที่
๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ เนื่องจากขัดต่อการประกาศกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองสมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่ง
มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 69