Page 72 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 72

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




            มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เรื่อง  ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
            (เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ เรื่อง ทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน�้าที่มีความส�าคัญระดับนานาชาติและ
            ระดับชาติของประเทศไทย และมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน�้า) มีความชัดเจนเพียงพอในการน�าไปสู่การปฏิบัติ และมีแผนการ
            ปรับปรุงประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เป็นแผน

            ระยะสั้นภายใน ๓ ปี ซึ่งจะได้น�าประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุ่มน�้า และทางหลวงหรือถนนตามข้อเสนอแนะไปประกอบ
            การปรับปรุงประเภทและขนาดของโครงการ หรือกิจการที่ต้องจัดท�ารายงานฯ ให้มีความเหมาะสมต่อไป ส�าหรับกรณีที่
            เสนอให้มีแนวทางการบูรณาการการจัดท�ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) หรือการจัดท�ารายงานการวิเคราะห์  บทที่ ๒
            ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการใด ๆ ที่มีการด�าเนินการตั้งแต่ ๒ โครงการขึ้นไป ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน

            โดยรวมจัดท�าเป็นรายงานฉบับเดียวกันดังเช่นกรณีตามข้อร้องเรียนนั้น เห็นสมควรให้เจ้าของโครงการเป็นผู้พิจารณาความ
            เหมาะสมเป็นกรณีไป เช่น หากเจ้าของโครงการผลิตปิโตรเลียม และโครงการระบบขนส่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ประกอบ
            การเดียวกัน ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หน่วยงานอนุญาตเดียวกัน การจัดท�ารายงาน IEE หรือ EIA สามารถรวมเป็นรายงาน
            ฉบับเดียวกันได้ แต่หากเป็นกรณีที่เป็นโครงการต่างประเภทกัน ซึ่งมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างหรือแยกจากกัน หน่วยงาน

            อนุญาตแยกกัน การจัดท�ารายงานแยกฉบับตามประเภทโครงการจะมีความเหมาะสมกว่า เป็นต้น และกระทรวงมหาดไทย
            โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อยู่ระหว่างเสนอร่างพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ..... เพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติ
            การผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ ทั้งฉบับ โดยปรับรูปแบบและวิธีการวางและจัดท�าผังเมืองทั้งระบบ รวมทั้งก�าหนดให้ผังเมือง
            แต่ละประเภทไม่มีอายุการใช้บังคับ แต่ใช้ระบบประเมินผลผังเมืองในรอบระยะเวลา ๕ ปี





            กรณีที่  ๕  สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ  กรณีนโยบายและ
            แผนการด�าเนินงานเพื่อลดความพิการแต่ก�าเนิด  โดยการก�าหนดให้กรดโฟลิกเป็นส่วน
            ประกอบในอาหาร



                     ประเด็นร้องเรียน



                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็น
            สมควรให้มีการจัดท�าข้อเสนอแนะนโยบาย กรณี
            นโยบายและแผนการด�าเนินงานเพื่อความพิการ
            แต่ก�าเนิด โดยการก�าหนดให้กรดโฟลิกเป็นส่วน

            ประกอบในอาหาร สืบเนื่องจากความพิการแต่ก�าเนิด
            ของบุคคลได้ส่งผลกระทบต่อทั้งคนพิการและคนใน
            ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบด้านสุขภาพและ
            จิตใจ ภาระค่าใช้จ่ายเพื่อการได้รับบริการสาธารณสุข

            ที่เหมาะสมและมีมาตรฐาน ความยากล�าบากในการเข้าถึงสิ่งอ�านวยความสะดวกและบริการสาธารณะ การถูกเลือกปฏิบัติ
            ในการจ้างงาน อีกทั้งท�าให้สูญเสียงบประมาณ และทรัพยากรของประเทศเป็นจ�านวนมาก ซึ่งปัญหาความพิการแต่ก�าเนิด
            มีสาเหตุส�าคัญ หลายประการ อาทิ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในมารดา การได้รับสารก่อความพิการ โรคประจ�าตัวของ
            มารดาและการใช้ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ส�าหรับประเทศไทย พบว่า การเสียชีวิตในวัยทารกมีสาเหตุจาก

            ความพิการแต่ก�าเนิดประมาณร้อยละ ๒๐ - ๓๐ และพบทารกแรกเกิดมีชีพซึ่งมีความพิการแต่ก�าเนิดประมาณ ๒๔,๐๐๐ -
            ๔๐,๐๐๐ คนต่อปี จึงจ�าเป็นต้องด�าเนินการแก้ไขปัญหาความพิการแต่ก�าเนิดอย่างรอบด้านและเร่งด่วน ซึ่งได้มีการด�าเนินการ
            แล้วบางส่วน เช่น การก�าหนดให้เติมสารไอโอดีนในเกลือและสารปรุงรส เพื่อป้องกันการไม่พัฒนาการของเซลล์สมองขณะ
            ตั้งครรภ์และวัยเด็ก เป็นต้น

                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 71
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77