Page 79 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 79
(๔) เมื่อมีการใช้เครื่องพันธนาการใด ๆ แล้ว กรมราชทัณฑ์ควรก�าหนดให้มีมาตรการที่พึงใช้เพื่อป้องกันการละเมิด
สิทธิมนุษยชนต่อผู้ต้องขังเป็นครั้งที่สอง จากการที่ถูกถ่ายภาพหรือเสนอข่าวต่อสาธารณชนโดยท�าให้ปรากฏต่อสาธารณชน
ว่าผู้ต้องขังถูกใส่เครื่องพันธนาการ เนื่องจากย่อมเป็นการลดคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยอาจใช้เครื่องแต่งกายของผู้ต้องขังที่สามารถปิดบังเครื่องพันธนาการไว้ และในระหว่างน�าตัวผู้ต้องขังไปนอก
เรือนจ�า ควรป้องกันมิให้มีการถ่ายภาพผู้ต้องขังซึ่งมีเครื่องพันธนาการดังกล่าว
(๕) ในการควบคุมตัวผู้ต้องขัง กรมราชทัณฑ์ควรมีการแยกประเภทผู้ต้องขังระหว่างประเภทความผิดอุกฉกรรจ์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดที่กระท�าต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ที่มีลักษณะใช้ความรุนแรง กับอีกประเภทหนึ่งคือผู้ต้องขัง
ที่กระท�าความผิดต่อความมั่นคง หรือความผิดในทางการเมือง หรือความผิดในลักษณะที่ถูกก�าหนดให้เป็นความผิด
ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นภยันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน โดยผู้ต้องขังประเภทนี้ควรจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณี ๆ ว่า
ควรจะควบคุมตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
กรมราชทัณฑ์แจ้งผลด�าเนินการว่า ได้ก�าชับเรือนจ�าพิเศษกรุงเทพมหานคร ในการพิจารณาใช้เครื่องพันธนาการ
แก่ผู้ต้องขังให้ถือปฏิบัติตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และกฎกระทรวงมหาดไทยออกตาม
ความในมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งมีหนังสือสั่งการให้ปฏิบัติ
ด้วยความระมัดระวังและเคร่งครัดแล้ว และมีการด�าเนินการที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติก�าหนดแล้ว เว้นแต่ประเด็นเกี่ยวกับการใช้เครื่องแต่งกายปิดบังเครื่องพันธนาการของผู้ต้องขัง ซึ่งกรมราชทัณฑ์มีข้อ
สังเกตว่า การด�าเนินการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยในการควบคุมผู้ต้องขังด้วยเช่นกัน และประเด็น
เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการถ่ายภาพผู้ต้องขังที่มีเครื่องพันธนาการ เห็นว่า กสม. ควรจัดท�าข้อเสนอต่อรัฐ เพื่อให้จัดท�า
ช่องทางพิเศษส�าหรับผู้ต้องขังโดยความร่วมมือและงบประมาณระหว่างศาลยุติธรรม กระทรวงกลาโหม และกระทรวงยุติธรรม
กรณีที่ ๘ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม กรณีกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
จากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
ประเด็นการร้องเรียน
ผู้ร้องได้ร้องเรียนผ่านผู้อ�านวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ขอให้ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้างว่า
เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ นาฬิกา เจ้าหน้าที่ต�ารวจสถานีต�ารวจภูธร ก. จังหวัดร้อยเอ็ด (ผู้ถูกร้อง)
ได้จับกุมผู้ร้องตามหมายจับของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดที่ จ.๓๐๘/๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ แล้วน�าตัวไปคุมขังที่
สถานีต�ารวจภูธร ก. จังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ร้องเคยถูกด�าเนินคดีตามหมายจับดังกล่าว และศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมีค�าพิพากษา
ยกฟ้องแล้ว ตามคดีหมายเลขด�าที่ ๔๔๐๙/๒๕๕๗ คดีหมายเลขแดงที่ ๓๙๒๑/๒๕๕๘ จึงเห็นว่าการกระท�าของผู้ถูกร้อง
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ
การด�าเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกร้องได้เข้าจับกุมผู้ร้องแล้วน�าตัวไปคุมขังที่สถานี
ต�ารวจภูธร ก. จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหมายจับของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดที่ จ.๓๐๘/๑/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดย
78 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐