Page 78 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 78
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
จะสั่งให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังและที่จะเพิกถอนค�าสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ประกอบกับกฎกระทรวงมหาดไทย
ออกตามความในมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๘ วรรคสาม
ได้ก�าหนดเงื่อนไขในการพิจารณาใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังในกรณีที่ต้องน�าตัวออกไปนอกเรือนจ�าว่า “ถ้าจะใช้เครื่อง
พันธนาการให้ใช้กุญแจมือ เว้นแต่คนต้องขังในคดีอุกฉกรรจ์จะใช้ตรวน หรือกุญแจเท้า หรือชุดกุญแจมือและกุญแจเท้าก็ได้”
แต่ในกรณีของนักศึกษาผู้ต้องขังทั้งเจ็ดนี้เป็นคดีเกี่ยวกับข้อหาฝ่าฝืนค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘ ที่
ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และข้อหาร่วมกันก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปด้วยความ
เรียบร้อย ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวกับความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง และข้อหาไม่ปฏิบัติตามค�าสั่งของพนักงานสอบสวนในการ บทที่ ๒
พิมพ์ลายนิ้วมือ และไม่อาจแสดงบัตรประจ�าตัวประชาชนหรือใบรับหรือใบแทนใบรับเมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ มิได้
มีลักษณะเป็นการก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงสะเทือนขวัญต่อประชาชนแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นคดีอุกฉกรรจ์
นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาหลักทั่วไปที่เป็นเงื่อนไขในการใช้อ�านาจขององค์กรของรัฐหรือเจ้าพนักงานของรัฐ ในกรณีนี้แล้วเห็นว่า
การกระท�าของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังและเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�านาจสั่งใช้เครื่องพันธนาการแก่นักศึกษาผู้ต้องขังทั้ง
เจ็ดในกรณีนี้ไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐ ได้แก่ ต้องมีเหตุจ�าเป็น ต้องสมประโยชน์หรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรม และต้อง
สมควรแก่เหตุ ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่เรือนจ�าพิเศษกรุงเทพมหานครได้ใช้กุญแจเท้าแก่นักศึกษาผู้ต้องขังทั้งเจ็ด จึงเป็นการ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพในร่างกายของบุคคลโดยไม่มีอ�านาจตามกฎหมาย ส่วนการคุมตัวนักศึกษาผู้ต้องขังทั้งเจ็ดออกจาก
เรือนจ�าพิเศษกรุงเทพมหานครไปยังศาลทหารกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ โดยมีการท�าให้ภาพของการใส่กุญแจเท้า
ปรากฏต่อสาธารณชนไปทั่วโลก เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้ง ๒ ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง จึงได้ก�าหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะต่อกรมราชทัณฑ์ ดังนี้
มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ให้กรมราชทัณฑ์ก�าชับและตักเตือนเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการพิจารณาให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เพื่อ
ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และกฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา ๕๘ แห่ง
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วยความระมัดระวังและเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกัน
มิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะท�านองเดียวกันอีก ทั้งนี้ ให้ด�าเนินการภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน
ข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(๑) กรมราชทัณฑ์ควรมีการด�าเนินการทบทวนความรู้ความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ เกี่ยวกับการ
รักษาความมั่นคงปลอดภัยที่สอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังอย่างเพียงพอด้วย และควรที่จะได้มีการ
จัดการศึกษาอบรมและติดตามพัฒนาการมาตรฐานการดูแลรักษาความปลอดภัยและรักษาสิทธิมนุษยชนเป็นระยะอย่าง
สม�่าเสมอและต่อเนื่อง
(๒) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังพึงพิจารณาให้ความเห็นในการใช้เครื่องพันธนาการ ให้เป็นไปตาม
กฎหมายอย่างเคร่งครัด และพัศดีจะต้องเป็นผู้สั่งให้ใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขังตามที่กฎหมายก�าหนด
(๓) กรมราชทัณฑ์ควรพิจารณาวิวัฒนาการของการใช้เครื่องพันธนาการโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทน
ลักษณะของเครื่องพันธนาการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่อไป โดยค�านึงถึงการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ
อันเป็นสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกควบคุมตัว
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 77