Page 73 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 73
การด�าเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า ประชาชนคนไทยย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการส่งเสริม
และสนับสนุนการมีสุขภาพที่ดี อันถือเป็นหลักการที่ส�าคัญของสิทธิมนุษยชนที่ต้องได้รับตามมาตรฐานสูงสุด ซึ่งมีวิธีการที่
หลากหลายที่จะน�าไปสู่การได้รับสิทธิของบุคคลในด้านสุขภาพ อาทิ การก�าหนดนโยบาย หรือการน�าหลักการหรือองค์ความรู้
ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ศึกษาและมีข้อเสนอแนะต่อประเทศทั่วโลกมาปรับใช้ หรือการตรากฎหมายที่จ�าเป็น
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ อันรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวด้วย ซึ่งในส่วนสิทธิของมารดาและการพัฒนาสุขภาพของ
เด็กให้มีความสมบูรณ์แข็งแรง จ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนาสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ตั้งแต่การวางแผน
ครอบครัว การฝากครรภ์ในระยะก่อนและหลังคลอดบุตร ดังนั้น การพัฒนานโยบายและแผนการด�าเนินงานเพื่อลดความ
พิการแต่ก�าเนิด โดยการก�าหนดให้กรดโฟลิกเป็นส่วนประกอบในอาหารจึงเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการได้รับบริการ
สาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งได้วางหลักการ
และคุ้มครองไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสม เป็นไปอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ
และได้มาตรฐาน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งมีสิทธิในการอยู่รอดและได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
ตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
๒๕๕๗ (ในขณะนั้น) รวมทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่า
ด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๑๒ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ ๒๔ ซึ่งให้การคุ้มครองและรับรองว่า
รัฐภาคีควรด�าเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อลดอัตราการตายของทารกก่อนคลอด และของเด็กแรกเกิด ตลอดจนประกันให้มี
การดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมแก่มารดาทั้งก่อนและหลังคลอด รวมถึงการแนะแนวให้ความรู้แก่บิดามารดาในเรื่องโภชนาการ
และการวางแผนครอบครัว เพื่อพัฒนาการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแก่มารดาและบุตรให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน
จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะนโยบายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(๑) ควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันเป็นหน่วย
งานหลักในการผลักดันนโยบายและแผนการด�าเนินงานส�าหรับการก�าหนดให้กรดโฟลิก เป็นส่วนประกอบในอาหาร
(๒) ควรให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และส�านักงานคณะกรรมการอาหารและยา
(๒.๑) ส่งเสริมการให้โภชนศึกษาแก่หญิงวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรสที่พร้อมจะมีบุตรให้ได้รับทราบถึงประโยชน์
ของกรดโฟลิกในการลดความพิการแต่ก�าเนิดของทารก
(๒.๒) เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนานโยบายและแผนการด�าเนินงานส�าหรับการก�าหนด ให้เติมกรดโฟลิก
เป็นส่วนประกอบในอาหาร โดยอาศัยอ�านาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังนี้
๑) พัฒนานโยบายและแผนการด�าเนินงานส�าหรับการก�าหนดให้เติมกรดโฟลิกเป็นส่วนประกอบใน
อาหาร โดยเร่งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน เช่น สภา
อุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีการอาหาร เป็นต้น
๒) เร่งประสานความร่วมมือกับสถาบันโภชนาการต่าง ๆ อาทิ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ฯลฯ ให้ด�าเนินการศึกษาวิจัยเพื่อก�าหนดปริมาณของกรดโฟลิกที่ควรได้รับต่อวัน เพื่อก�าหนดชนิดของอาหารที่เหมาะสม
ส�าหรับการเติมกรดโฟลิกลงไป โดยค�านึงถึงวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารของคนไทยซึ่งต้องสอดคล้องกับห่วงโซ่อุปทาน
ของอาหารและคุณภาพของอาหาร (สี กลิ่น รสชาติ) และต้นทุนในกระบวนการผลิต ตลอดจนความเสถียรคงรูปตามอายุของ
อาหารในการวางจ�าหน่าย
72 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐