Page 67 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 67

กรณีที่ ๓ สิทธิชุมชน กรณีกล่าวอ้างว่าพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่

           ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั ่ งและชุมชนริมน�้า


                   ประเด็นร้องเรียน



                   พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน�้าไทย
           (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๓
           กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ บทบัญญัติในมาตรา ๑๘ ก�าหนดให้

           เจ้าของหรือผู้ครอบครองสิ่งปลูกสร้างที่ล่วงล�้าล�าน�้าต้อง
           ด�าเนินการแจ้งต่อกรมเจ้าท่าหรือส�านักงานเจ้าท่าภูมิภาค
           หรือส�านักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาที่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
           ตั้งอยู่ ภายใน ๑๒๐ วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัติการ

           เดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผล
           ใช้บังคับ กล่าวคือ ต้องด�าเนินการแจ้งภายในวันที่ ๒๒
           มิถุนายน ๒๕๖๐ รวมทั้งจะต้องยื่นค�าร้องเพื่อขอรับใบ
           อนุญาตและจะต้องยอมช�าระค่าปรับในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท

           ส�าหรับการออกใบอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้เสียค่าตอบแทนเป็นรายปี จากบทบัญญัติดังกล่าวมีผลกระทบต่อ
           ชุมชนชายฝั่งและชุมชนริมน�้าซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน


                   การด�าเนินการ



                   จากการด�าเนินการตรวจสอบและมีความเห็นว่า พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน�้าไทย (ฉบับที่ ๑๗)
           พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๑๘ ขัดต่อหลักการด้านสิทธิชุมชนที่รัฐธรรมนูญให้การรับรอง เนื่องจากกระบวนการมีส่วนร่วมใน
           การแสดงความคิดเห็นยังไม่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชุมชนชายฝั่งและชุมชน

           ริมน�้าซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการจัดการสิ่งล่วงล�้าล�าน�้าดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบว่าความพร้อม ในการ
           บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น เกณฑ์การพิจารณายังไม่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนในทั้ง
           เชิงนิยามและเชิงสถิติ รวมทั้งยังมีช่องว่างการพิจารณาสิ่งล่วงล�้าล�าน�้าที่มีขึ้นในช่วงปี ๒๕๑๕ ถึง ปี ๒๕๓๗ ซึ่งเกณฑ์การ
           พิจารณาทุกช่วงระยะเวลา จะต้องมีการประกาศเผยแพร่ให้ผู้อาจได้รับผลกระทบทราบล่วงหน้า จึงเป็นการละเมิด

           สิทธิมนุษยชน และให้มีเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน
           ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ (๑) ไปยังคณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
           รัฐสภา และกระทรวงคมนาคม



                   มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน


                   อาศัยอ�านาจตามมาตรา ๒๔๗ (๑) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ คณะกรรมการ
           สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงมีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน

           ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ (๑) ต่อคณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบ
           แห่งชาติ รัฐสภา และกระทรวงคมนาคม ดังนี้





            66  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72