Page 65 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 65
พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงยังไม่มีสภาพบังคับ อันเป็นการผ่อนผันให้ชาวประมงพื้นบ้านสามารถท�าการประมงในเขตประมงทะเล
นอกชายฝั่งได้ จึงเห็นควรให้ยุติเรื่อง
อนึ่ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตระหนักและเล็งเห็นความส�าคัญเรื่องสิทธิชุมชนและเสรีภาพในการ
ประกอบอาชีพตามที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทย
จะต้องปฏิบัติตามดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงสมควรมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายต่อ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
(๑) คณะรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๑) คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ (ผู้ถูกร้องที่ ๒) และกรมประมง
(ผู้ถูกร้องที่ ๓) ควรแก้ไขพระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๓๔ ที่บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตท�าการ
ประมงพื้นบ้าน ท�าการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง” โดยอาจน�าความในมาตรา ๔๓ วรรคสาม ของพระราชบัญญัติการ
ประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ก�าหนดให้ผู้ท�าการประมงด้วยเครื่องมือการประมงที่มีใบอนุญาตตามมาตรา ๔๒ (ใบอนุญาตเครื่อง
มือท�าการประมงในเขตประมงทะเลชายฝั่ง) หรือเครื่องมือท�าการประมงพื้นบ้านตามที่รัฐมนตรีประกาศก�าหนด ท�าการ
ประมงในเขตประมงทะเลนอกชายฝั่งได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตมาปรับใช้
(๒) คณะรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๑) คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ (ผู้ถูกร้องที่ ๒) และกรมประมง
(ผู้ถูกร้องที่ ๓) ควรพิจารณาแก้ไขหรือปรับปรุงบทบัญญัติของพระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ในส่วนที่จ�าแนก
ชาวประมงพื้นบ้านด้วยขนาดเรือต�่ากว่า ๑๐ ตันกรอส โดยเปลี่ยนเป็นจ�าแนกประเภทการประมงพื้นบ้านตามประเภทของ
เครื่องมือการประมงและลักษณะเฉพาะของการท�าการประมง
(๓) คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ (ผู้ถูกร้องที่ ๒) และกรมประมง (ผู้ถูกร้องที่ ๓) และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องควรจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นและให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงพระราชก�าหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ ตลอดจนการตราประกาศ กฎ หรือระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชก�าหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘
(๔) ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการท�าการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) (ผู้ถูกร้องที่ ๔) ควรออกประกาศ
เพิ่มเติมในเรื่องการก�าหนดให้มีการจดทะเบียนเรือไทยส�าหรับการประมง ตามค�าสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ที่ ๑๐/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการท�าการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน
และไร้การควบคุม เพื่อให้เรือประมงพื้นบ้านสามารถขึ้นทะเบียนเรือประมงและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายประมง
(๕) กรมเจ้าท่า (ผู้ถูกร้องที่ ๕) ควรพิจารณาปรับปรุงกฎข้อบังคับส�าหรับการเดินเรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
เรือประมงพื้นบ้าน และวิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่ง โดยก�าหนดระยะทางเดินเรือออกจากชายฝั่งและเกาะให้สอดคล้องกับ
ข้อเท็จจริง รวมทั้งเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และให้ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งมีความสามารถ มีเรือได้เพียงล�าเดียว สามารถ
จดทะเบียนเรือเพื่อประกอบอาชีพ ทั้งการประมงและการท่องเที่ยวควบคู่กันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ อาจก�าหนดการตรวจ
เรือในช่วงเปลี่ยนอาชีพและมีมาตรฐานความปลอดภัยที่เพียงพอ เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านได้ปฏิบัติตามกฎหมาย
ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การจ้างงานในท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย
และป้องกันไม่ให้มีการน�าข้ออ้างเรื่องการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายมาเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อชาวประมงพื้นบ้าน
64 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐