Page 62 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 62
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๗) การแบ่งประเภทการท�าเหมือง (ร่างมาตรา ๔๙) และการรวมประทานบัตรเป็นเขตเหมืองแร่เดียวกัน (ร่างมาตรา
๕๗) มีข้อเสนอแนะให้ (๗.๑) การแบ่งประเภทการท�าเหมือง นอกจากพิจารณาเงื่อนไขในด้านขนาดพื้นที่ของการท�าเหมือง
แล้ว ควรพิจารณาเงื่อนไขของชนิดแร่ ปริมาณแร่ มูลค่าแร่ อัตราการผลิต วิธีการท�าเหมือง ผลกระทบที่อาจเกิดต่อชุมชน
คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ และบริเวณที่ตั้งของการท�าเหมืองประกอบด้วย และ (๗.๒) ควรแก้ไข
ร่างมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๗ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่องว่างในการบังคับใช้กฎหมาย หลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เข้าข่ายการท�า
เหมืองประเภทที่สอง ทั้งนี้ ในการรวมประทานบัตรหลายฉบับซึ่งอยู่ติดกันเป็นเขตเหมืองแร่เดียวกัน ให้เป็นอ�านาจของ
เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจ�าท้องที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้วแต่กรณีเป็นผู้พิจารณาก�าหนด บทที่ ๒
(๘) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก�าหนดนโยบาย แผน การออกอาชญาบัตร ประทานบัตรและใบ
อนุญาตอื่น ๆ ควรบัญญัติขั้นตอน และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่และผู้มีส่วนได้เสียไว้
ในร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ให้ชัดเจน โดยก�าหนดหมวดว่าด้วยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียขึ้นเป็นการเฉพาะ
โดย (๘.๑) ก�าหนดหลักการ กระบวนการและวิธีการเพื่อจัดให้ชุมชน ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสีย และองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ และ (๘.๒) มีกลไกในการหาข้อยุติเมื่อเกิดกรณีข้อพิพาท
(๙) การโอนประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม (ร่างมาตรา ๖๗ และมาตรา ๑๑๐)
ควรก�าหนดห้ามมิให้มีการโอนประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรม เว้นแต่ผู้รับโอนจะมี
คุณสมบัติและเงื่อนไขเฉพาะเช่นเดียวกันหรือไม่น้อยกว่าผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้โอน
(๑๐) ความรับผิดของผู้รับสัมปทานเหมือง (ร่างมาตรา ๘๕ และมาตรา ๑๓๑) ควรแก้ไขร่างมาตรา ๘๕ และมาตรา ๑๓๑
โดยไม่ต้องจ�ากัดความรับผิดชอบของผู้รับสัมปทานเหมืองใต้ดินไว้เฉพาะในเขตสัมปทานเท่านั้น กรณีที่เกิดการทรุดของพื้นดิน
ลักษณะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริเวณใกล้เคียงกับเขตสัมปทาน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการทรุดตัวของพื้นดินนั้นเกิดจาก
การท�าเหมืองใต้ดิน และให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เป็นผู้พิจารณาในลักษณะเดียวกับในเขตสัมปทาน และ
ควรน�าหลักการสันนิษฐานความรับผิดมาใช้ในการท�าเหมืองแร่ทุกประเภท มิใช่เฉพาะกรณีการท�าเหมืองแร่ใต้ดิน
(๑๑) การท�ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและขอความเห็นชอบไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วน�าเขตเหมืองดังกล่าวมาจัด
ประมูล (ร่างมาตรา ๑๓๒) ควรพิจารณาความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๑๒) การวางหลักประกันและการจัดตั้งกองทุน เพื่อฟื้นฟูการท�าเหมืองและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการท�า
เหมือง (ร่างมาตรา ๖๔ (๙)) มีข้อเสนอแนะให้ (๑๒.๑) ก�าหนดให้ตัวแทนชุมชน ผู้ได้รับผลกระทบ และชุมชนรอบเหมืองมี
ส่วนร่วมในการก�ากับการบริหารจัดการและการด�าเนินการของกองทุนด้วย และ (๑๒.๒) ก�าหนดให้สามารถใช้งบประมาณ
เพื่อการฟื้นฟู เยียวยาผลกระทบจากการท�าเหมืองทันทีเมื่อมีผลกระทบเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ นอกจากนั้น
ควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในหมวดว่าด้วยกองทุน
สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
(๑๓) การก�าหนดกรอบ เงื่อนไข รวมทั้งกระบวนการของฝ่ายบริหารในการออกอนุบัญญัติตามร่างพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. .... มีข้อเสนอแนะให้ (๑๓.๑) ควรก�าหนดกรอบ และเงื่อนไขการออกอนุบัญญัติให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจ
ในการออกอนุบัญญัติ และ (๑๓.๒) ควรก�าหนดให้การออกอนุบัญญัติ ต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการก�าหนดให้มีการประเมินผลกระทบจากการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment :
RIA)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 61