Page 64 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 64

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




            ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านสามารถออกท�าการประมงนอกเขตชายฝั่งได้ โดยไม่เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือ
            ท�าให้รัฐเสียหายแต่อย่างใด กรณีดังกล่าวจึงเป็นการจ�ากัดสิทธิในการประกอบอาชีพของประชาชน ประกอบกับชาวประมง
            พื้นบ้านตั้งถิ่นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลในลักษณะของชุมชน ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้
            ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน อีกทั้งก่อนการประกาศใช้พระราชก�าหนดการประมงฉบับนี้ รัฐไม่ได้

            เปิดโอกาสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบต่อการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านแต่อย่าง
            ใด อันอาจเป็นการกระท�าหรือละเลยการกระท�าอันเป็นการละเมิดสิทธิชุมชน                                      บทที่ ๒


                     การด�าเนินการ



                     คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นว่า เดิมกฎหมายการประมงอนุญาตให้ชาวประมง
            พื้นบ้านที่ใช้เครื่องมือที่ได้รับอนุญาตท�าการประมงในเขตประมงทะเลนอกชายฝั่งได้ และวิถีวัฒนธรรมการประมงทะเลที่มี
            มาแต่เดิม ชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ต่างท�าประมงในเขตทะเลชายฝั่งควบคู่กับในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ต่อมารัฐบาลได้

            ประกาศบังคับใช้พระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งมาตรา ๓๔ ได้จ�ากัดให้ชาวประมงพื้นบ้านท�าประมงได้เฉพาะ
            ในเขตทะเลชายฝั่งซึ่งมีระยะเพียง ๓ ไมล์ทะเลจากแนวชายฝั่งหรือเกาะ จึงส่งผลกระทบอย่างมากต่อชาวประมงพื้นบ้าน
            และจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น�้าเพราะชายฝั่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ และอนุบาลสัตว์น�้าวัยอ่อน เมื่อชาวประมง
            พื้นบ้านซึ่งมีจ�านวนร้อยละ ๘๐ ของชาวประมงไทย ถูกจ�ากัดให้ท�าประมงเฉพาะในเขตทะเลชายฝั่ง จะท�าให้เกิดผล

            กระทบต่อศักยภาพการผลิตของทะเล ประกอบกับทะเลชายฝั่งในหลายจังหวัดได้รับผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรม
            และท่าเรือน�้าลึก ท�าให้เขตทะเลชายฝั่งไม่มีสัตว์น�้าเศรษฐกิจหรือมีน้อยมาก ชาวประมงพื้นบ้านจึงต้องออกไปท�าประมง
            ในพื้นที่นอกชายฝั่ง ขณะที่ชาวประมงพาณิชย์ซึ่งท�าประมงในลักษณะอุตสาหกรรมการประมง สามารถท�าประมงได้
            ตั้งแต่นอกระยะ ๓ ไมล์ทะเลไปจนถึงเขตเศรษฐกิจจ�าเพาะ ๒๐๐ ไมล์ทะเล โดยที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

            (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ได้บัญญัติคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอ
            ภาคของชนชาวไทยตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
            และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ประกอบกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๓ ได้
            ก�าหนดว่า “คนทุกคนมีสิทธิในการด�ารงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวตน” กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง

            เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ข้อ ๑ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑ ได้วาง
            หลักในเรื่องของสิทธิในการก�าหนดวิถีชีวิตของตนเอง และข้อ ๒๕ ได้วางหลักในเรื่องของสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการ
            เมืองและการเข้าถึงบริการสาธารณะ กรณีตามค�าร้องจึงเป็นเรื่องสิทธิชุมชนและเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามที่ได้รับ
            การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศดังที่กล่าวนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตระหนัก

            ถึงความจ�าเป็นและเร่งด่วนโดยเห็นพ้องในหลักการที่ต้องมีการปฏิรูปการประมง รวมทั้งเห็นพ้องว่ารัฐต้องจัดระบบการ
            ประมงให้มีการรายงาน การควบคุม และเป็นไปอย่างถูกกฎหมาย ด�าเนินการให้มีการท�าการประมงตามจรรยาบรรณใน
            การท�าการประมงอย่างรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries : COC) ขององค์การอาหารและ
            เกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nation : FAO) ตลอดจนการดูแล

            ให้มีการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างเหมาะสมและสมดุล ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒
            ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติในฐานะรัฐภาคี และการตรวจสอบในกรณีนี้พบว่า ชาวประมงพื้นบ้านรวมทั้งผู้ร้อง
            ไม่ได้คัดค้านพระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งฉบับ คงมีเพียงเฉพาะประเด็นปัญหาผลกระทบจากการบังคับใช้
            ตามมาตรา ๓๔ โดยเห็นว่า เป็นบทบัญญัติที่ละเมิดสิทธิชุมชนและสิทธิของชาวประมงพื้นบ้าน ส�าหรับปัญหาดังกล่าว ใน

            คราวการประชุมของคณะรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๑) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ประชุมมีมติเห็น
            ชอบให้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา ๓๔ และมาตราอื่นที่เกี่ยวข้องของพระราชก�าหนดฉบับ
            ดังกล่าว รวมทั้งมีการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นโดยกรมประมง (ผู้ถูกร้องที่ ๓) ได้ยกเลิกประกาศว่าด้วยการก�าหนดเครื่องมือ
            การประมงที่ต้องได้รับการอนุญาตส�าหรับการประมงพื้นบ้าน ซึ่งโดยนัยแล้ว มาตรา ๓๔ ของพระราชก�าหนดการประมง

                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 63
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69