Page 63 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 63
ข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
(๑) การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ในประเด็น
จัดท�ารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ควรมีหน่วยงาน
กลางเป็นผู้ด�าเนินการ และให้มีผู้ติดตามตรวจสอบโดยส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐรับรอง การ
ปรับปรุงเรื่องกองทุนสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงเรื่องการประกาศก�าหนดเขตควบคุมมลพิษ และการก�าหนดมาตรการต่าง ๆ ใน
การควบคุมมลพิษให้เกิดความรวดเร็ว รวมถึงเสนอให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการรายงานการปลดปล่อยและการเคลื่อน
ย้ายมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม
(๒) เสนอให้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ พ.ศ. ....
ความส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ รับทราบข้อเสนอแนะนโยบายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ และมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมและส�านักงานปลัดส�านักนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอ
ดังกล่าว และสรุปรวบรวมผลการพิจารณาหรือผลการด�าเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมและน�าเสนอคณะ
รัฐมนตรีต่อไป
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ รับทราบสรุปผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาข้อเสนอ
แนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
แจ้งว่า ได้จัดการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ส�านักงานปลัดส�านักนายกรัฐมนตรี ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาการเหมืองแร่ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม
๒๕๕๙ ซึ่งที่ประชุมได้น�าข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปพิจารณาด�าเนินการ เช่น ข้อเสนอให้การ
จัดท�าแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่จะต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจน
การเสนอให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... เป็นต้น โดยข้อเสนอที่ไม่อาจด�าเนินการได้ก็ให้
แจ้งเหตุผลความจ�าเป็นให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบ
กรณีที่ ๒ สิทธิชุมชน และเสรีภาพในการประกอบอาชีพ กรณีกล่าวอ้างว่าชาวประมงพื้นบ้าน
ได้รับผลกระทบจากการประกาศบังคับใช้พระ
ราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘
ประเด็นการร้องเรียน
ผู้ร้องได้ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบกรณีกล่าวอ้าง
ว่า พระราชก�าหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีบทบัญญัติที่
ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพประมงรายย่อยหรือประมง
พื้นบ้าน โดยเฉพาะมาตรา ๓๔ ที่บัญญัติห้ามชาวประมงพื้น
บ้านท�าการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่งโดยเด็ดขาด พร้อม
ทั้งก�าหนดโทษหนักส�าหรับผู้ฝ่าฝืน ทั้งที่ตลอดระยะเวลาที่
62 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐