Page 61 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 61

ที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชนนั้น เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... มีบทบัญญัติบางมาตราที่มีสาระส�าคัญกระทบต่อ
           สิทธิชุมชนและสิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗
           ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ยังคงได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
           ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ นอกจากนี้ บทบัญญัติบางประการของร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... มีเนื้อหาที่

           ก�าหนดให้รัฐเป็นผู้มีอ�านาจผูกขาดในการบริหารจัดการแร่ โดยไม่เปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
           และปกป้องทรัพยากรของชาติซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของประชาชน โดยที่
           สภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... จึงได้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะใน
           การปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... เพื่อประกอบการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี

           ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนรวมถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน อันเป็นหลักประกันในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
           ของประชาชน และข้อเสนอปรับปรุงและตรากฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


                   ข้อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย



              ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ....


              (๑)  แนวคิดและหลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิในทรัพยากรแร่และหน้าที่ของรัฐ (ร่างมาตรา ๗) ควรปรับปรุง แก้ไข

           บทบัญญัติโดยก�าหนดให้แร่เป็นทรัพยากรร่วม (The Common Pool Resources) ซึ่งรัฐและประชาชนจะต้องบริหาร
           จัดการร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างทั่วถึง และควรให้ความส�าคัญกับความ
           คุ้มค่าและความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ มากกว่ามุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก



              (๒)  แผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ (ร่างมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐) มีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมร่าง
           บทบัญญัติมาตรา ๘ มาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ โดยก�าหนดให้การจัดท�าแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแร่จะต้องจัดให้
           มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียให้ชัดเจน ไม่ใช่เพียงเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนทราบ และไม่
           ควรมีข้อยกเว้นใด ๆ โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ



              (๓)  การท�าเหมืองแร่ในพื้นที่สงวนหวงห้ามหรือในพื้นที่อนุรักษ์ (ร่างมาตรา ๑๒) มีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไข
           ร่างมาตรา ๑๒ เพื่อก�าหนดให้ชัดเจนว่า เป็นพื้นที่สงวนหวงห้ามหรือพื้นที่อนุรักษ์ตามกฎหมายใดที่ห้ามก�าหนดเป็นเขตเหมืองแร่



              (๔)  การประมูลทรัพยากรแร่ (ร่างมาตรา ๑๓) ให้พิจารณาความสอดคล้องกับร่างมาตรา ๑๓๒ โดยอาจจัดท�ารายงาน
           การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและขอความเห็นชอบตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
           พ.ศ. ๒๕๓๕ ไว้เป็นการล่วงหน้ามาประกาศให้มีการประมูลแหล่งแร่ในพื้นที่ดังกล่าว



              (๕)  กลไก โครงสร้าง องค์ประกอบการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ (ร่างมาตรา ๑๕) มีข้อเสนอแนะให้ (๕.๑) ควรก�าหนดองค์
           ประกอบของคณะกรรมการแร่ และคณะกรรมการแร่จังหวัดให้มีสัดส่วนที่สมดุล และ (๕.๒) ให้ตัดมาตรา ๑๘๔ ออกทั้งมาตรา
           เพื่อให้คณะกรรมการแร่ จะปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อ�านาจตามพระราชบัญญัตินี้ได้ เมื่อมีองค์ประกอบของคณะกรรมการครบถ้วนแล้ว
           เท่านั้น



              (๖)  การก�าหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษจากแหล่งก�าเนิด (ร่างมาตรา ๒๘) ควรก�าหนดให้มาตรฐานและวิธี
           การควบคุมมลพิษซึ่งรัฐมนตรีออกประกาศจะต้องมีมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการปล่อยมลพิษไม่ต�่ากว่ามาตรฐานที่
           พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก�าหนด

            60  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66