Page 60 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 60
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
กรณีตัวอย่างผลการด�าเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กรณีที่ ๑ สิทธิชุมชนและสิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กรณีกล่าวอ้างว่าร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... กระทบต่อสิทธิมนุษยชน
ประเด็นการร้องเรียน
ผู้ร้อง ๓ ราย ได้ร้องเรียนขอให้ตรวจสอบ ดังนี้ บทที่ ๒
ผู้ร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่า ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยแร่
พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน
๒๕๕๒ มีสาระส�าคัญที่กระทบต่อสิทธิชุมชนและสิทธิการ
มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้ร้องที่ ๒ ขอให้ตรวจสอบและคัดค้านเนื้อหาสาระ
ของร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็น
ชอบ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ และต่อมาได้ร้องเรียนขอให้
เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความ
บทบัญญัติมาตรา ๑๓๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐
ผู้ร้องที่ ๓ ขอให้ตรวจสอบบทบัญญัติของ
ร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อ
วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ได้มีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ....
มีหลักการส�าคัญ คือ ยกเลิกพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่า
ภาคหลวงแร่ พ.ศ. ๒๕๐๙ และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยน�ากฎหมายทั้งสองฉบับรวมไว้เป็นฉบับเดียวกัน
เพื่อให้การอนุญาตและการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่เป็นไปอย่างมีระบบ โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกระทบต่อ
สิทธิมนุษยชน เนื่องจากหลักการและเหตุผลไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และขอให้น�าสาระเกี่ยวกับแร่ทองค�าออกจาก
ร่างพระราชบัญญัติแร่ รวมทั้งเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติแร่ฉบับนี้มีบทบัญญัติและสาระส�าคัญที่กระทบต่อสิทธิชุมชนและ
สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
การด�าเนินการ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้พิจารณาค�าร้องกรณีขอให้ตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ซึ่ง
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ และกรณีขอให้ตรวจสอบและคัดค้านร่างพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ แล้ว เห็นว่า ยังไม่มีเหตุที่จะต้องพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับข้างต้น ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา
ส�าหรับกรณีตามค�าร้องขอให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความบทบัญญัติมาตรา ๑๓๑/๑ แห่ง
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ นั้น เห็นว่า การเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเป็นกรณีที่มีปัญหาว่า
บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่การที่ขอให้ตีความ
บทบัญญัติของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ไม่ใช่กรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะส่งเรื่องพร้อมด้วย
ความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ อีกทั้งปัจจุบันคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่มีอ�านาจหน้าที่ดังกล่าวอีกต่อไปแล้ว
ส่วนกรณีขอให้ถอนร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. .... ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยอ้างว่ามีเนื้อหา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 59