Page 146 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 146

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




                            (๒) การจัดตั้งส�านักงานเลขานุการของ SEANF ผู้แทนสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของอินโดนีเซีย
            (Komnas HAM) ได้น�าเสนอความคืบหน้าในการจัดตั้งส�านักงานเลขานุการของ SEANF รายงานว่า กสม. อินโดนีเซียจะ
            ส่งเอกสารการจดทะเบียนการจัดตั้งส�านักงานฯ แก่ประธานาธิบดีตามกฎหมาย ดังนั้น การจะเปิดส�านักงานฯ อย่างเป็น
            ทางการได้เร็วเพียงใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการผ่านความเห็นชอบของประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปลายปี

            นี้การจัดตั้งส�านักงานฯ น่าจะเสร็จสมบูรณ์ตามแผนที่วางไว้ได้
                            (๓) แผนยุทธศาสตร์ของ SEANF (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้แทนส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
            แห่งชาติได้แจ้งความคืบหน้าในการด�าเนินการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์   บทที่ ๒
            ของ SEANF ว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

            แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕ ที่มุ่งเน้นการด�าเนินงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ใน ๓ ด้าน (๑) ธุรกิจและ
            สิทธิมนุษยชน (Business and Human Rights) (๒) สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ (Rights
            related to land and natural resource) และ (๓) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) และมีแผนจัดการ
            สัมมนาวิชาการ เรื่อง “การเผยแพร่และการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

            ในประเทศไทยและในระดับภูมิภาค” ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ อาคารสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร โดย
            นายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวปาฐกถาเรื่องหลักการชี้แนะของสหประชาชาติกับการสร้าง
            ความยั่งยืนเศรษฐกิจและสังคม ซึ่ง กสม. จะได้เชิญสมาชิก SEANF เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าวด้วย
                            - ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ (Technical Working Group) ของ SEANF ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๗ - ๘

            กันยายน ๒๕๖๐ ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมได้พิจารณาระเบียบวาระการประชุมส�าหรับการประชุมประจ�าปี
            ครั้งที่ ๑๔ ของ SEANF ที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีประเด็นที่ส�าคัญ ได้แก่
            การโยกย้ายถิ่นฐานและสิทธิมนุษยชน (Migration and Human Rights) การหารือกับผู้แทนไทยประจ�าคณะกรรมาธิการ
            ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) การจัดท�าแผนปฏิบัติการตามแผนยุทธศาสตร์ของ SEANF ระหว่างปี

            ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ รวมทั้งการเตรียมจัดท�าแถลงการณ์ร่วมของ SEANF ในประเด็นเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานและสิทธิมนุษยชน
            นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับฟังการบรรยายพิเศษของผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของผู้พลัดถิ่นภายใน
            ประเทศของสหประชาชาติ (Special Rapporteur on the Human Rights of Internally Displaced Persons - IDPs)
            ซึ่งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีบทบาทที่ส�าคัญที่จะขับเคลื่อนในเรื่องนี้โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับระบบการแจ้งเตือน

            ล่วงหน้า (Early Warning Mechanism)
                            ผู้แทนส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับ
            การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พ.ศ. ๒๕๖๐) ของไทย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และอ�านาจของ กสม. บางประการ โดย
            กสม. ได้มีส่วนร่วมในการจัดท�าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

            พ.ศ. .... ซึ่งก�าหนดสถานะของ กสม. ให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ


                     ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม



                     การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ของ SEANF เป็นการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมส�าหรับการประชุมประจ�าปี ซึ่ง
            เป็นการประชุมระดับประธานสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศสมาชิก SEANF จ�านวน ๖ ประเทศ การประชุม
            ในครั้งนี้ ถือว่ามีความส�าคัญเพราะประธาน กสม. ของไทย จะต้องเข้ารับต�าแหน่งประธาน SEANF ล�าดับถัดไปต่อจาก
            ฟิลิปปินส์ภายหลังการประชุมประจ�าปีซึ่งจะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ ที่กรุงมะนิลา ซึ่งประธาน กสม. ในฐานะ

            ประธาน SEANF จะต้องมีบทบาทที่แข็งขันและมีความพร้อมโดยเฉพาะการก�าหนดท่าทีร่วมกันของ SEANF ในประเด็น
            สถานการณ์ทางด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความส�าคัญในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้





                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 145
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151