Page 143 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 143
๕.๑.๑ ความร่วมมือในระดับสากลภายใต้กรอบพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(GANHRI) การเข้าร่วมประชุมประจ�าปีของ GANHRI ครั้งที่ ๓๐ ระหว่างวันที่ ๖ - ๙ มีนาคม ๒๕๖๐
ณ ส�านักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันฐรัฐสวิส
(๑) การประชุม GANHRI General Meeting เป็นการประชุมเกี่ยวกับการด�าเนินงาน GANHRI ซึ่ง
มีสาระส�าคัญ ได้แก่ การรับรองการแก้ไขธรรมนูญของ GANHRI โดยเฉพาะกระบวนการประเมินสถานะ (accreditation)
ของสถาบันสมาชิก ซึ่งได้แก่ การโต้แย้งผลการพิจารณาของอนุกรรมการประเมินสถานะ (Sub-committee on
accreditation หรือ SCA) ทั้งในกระบวนการประเมินตามรอบปกติ และในช่วงสถานการณ์พิเศษ (exceptional
circumstances) การเลื่อนการพิจารณาสถานะ (deferral) และการทบทวนสถานะในกรณีพิเศษ (special review)
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ให้การรับรองรายงานด้านการเงิน (financial report) รายงานผลการด�าเนินงานในรอบปี ๒๕๕๙
และการพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ของ GANHRI ส�าหรับปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ โดยมีเป้าหมายที่ส�าคัญ คือ การเพิ่มการรับรู้
เกี่ยวกับบทบาทของ GANHRI และการด�าเนินงานที่ส�าคัญของสถาบันสมาชิกในระดับระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค
การจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ส�าหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกตลอดจนการพัฒนาความเข้มแข็ง
ของ GANHRI
(๒) การประชุม GANHRI Annual Conference หัวข้อหลักของการประชุม ได้แก่ สถาบันสิทธิมนุษยชน
ในช่วงวิกฤติ ความขัดแย้ง และสถานการณ์ภายหลังความขัดแย้ง (NHRIs in crisis, conflict and post-conflict
situations) วัตถุประสงค์ของการประชุมภายใต้หัวข้อดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการประชุมระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติในภูมิภาคยุโรป GANHRI และ UNDP เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ที่กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน ซึ่งที่ประชุมได้รับรอง
Kiev Declaration เพื่อก�าหนดบทบาทและการท�าหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในช่วงที่เกิดวิกฤติความรุนแรง
ภายในประเทศที่ส�าคัญ ได้แก่ การสอบสวนถึงสาเหตุของการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การรับเรื่องร้อง
เรียน การติดตามและรายงานสถานการณ์ การท�าหน้าที่กลไกแจ้งเตือนล่วงหน้า (early warning mechanisms) เพื่อ
ป้องกันความขัดแย้งและความรุนแรงที่อาจท�าให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้น นอกจากนี้ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยังต้อง
ปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกในการคุ้มครองบุคคลในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด อาทิ สตรี ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง
ดั้งเดิม ขณะเดียวกันต้องท�าหน้าที่ให้ค�าแนะน�าแก่รัฐบาลและรัฐสภาเกี่ยวกับสาระส�าคัญและการปฏิบัติตามมาตรฐาน
สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถน�าไปสู่การสร้างสังคมที่สันติ รวมทั้งการท�าหน้าที่เป็นเวทีส�าหรับการหารือ
ระหว่างรัฐและกลไกต่าง ๆ ที่มิใช่รัฐ
(๓) การประชุมภายใต้ระเบียบวาระพิเศษเรื่องบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และการคุ้มครองสิทธิเด็ก การประชุมในครั้งนี้เป็นการจัดร่วมกันระหว่าง UNICEF กับส�านักงานข้าหลวง
ใหญ่ สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of High Commissioner for Human Rights – OHCHR) เพื่อ
เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เข้าร่วมการประชุมประจ�าปีของ GANHRI เกี่ยวกับ
บทบาทและการด�าเนินการเพื่อส่งเสริม คุ้มครอง และติดตามสิทธิเด็ก โดยเปิดโอกาสให้สถาบันสิทธิมนุษยชนประเทศ
ต่าง ๆ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ บทเรียน และปัญหาในการด�าเนินงานในเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมข้อคิดเห็น
หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ส�าหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดท�าแผนการเพื่อส่งเสริมสิทธิเด็กภายใต้กรอบการ
อนุวัติการเป้าหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) นอกจากนี้ จะได้น�าบทเรียนและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ไปจัดท�า
แผนที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง OHCHR UNICEF และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาศักยภาพ
การด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กในอนาคต
142 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐