Page 151 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 151
ในครอบครัว พ.ศ. .... รวมถึงกระบวนการสรรหา กสม. ในช่วงการพิจารณารายงานของประเทศไทยภายใต้กติกาฯ ใน
วันที่ ๑๓ – ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการฯ ได้สอบถามคณะผู้แทนไทยในประเด็นส�าคัญที่ครอบคลุมในเรื่องการ
ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การคุ้มครองบุคคลกลุ่มต่าง ๆ การสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การ
ยกเลิกโทษประหารชีวิต สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การค้ามนุษย์ เสรีภาพในการแสดงออก และมาตรการใน
การแก้ปัญหาการปล่อยให้ผู้กระท�าความผิดไม่ต้องรับโทษ (impunity) เป็นต้น ซึ่งปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้าผู้แทน
ไทยได้ชี้แจงข้อซักถามของคณะกรรมการฯ รวมทั้งได้ย�้าความตั้งใจของรัฐบาลไทยในการด�าเนินการเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ด้านประชาธิปไตย และน�าพาประเทศออกจากวิกฤตทางการเมือง พร้อมกับหวังว่าจะมีการจัดเลือกตั้งในปี ๒๕๖๑ ตาม
แนวทาง (roadmap) ที่ได้ก�าหนดไว้
๕.๓.๒ รายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญา CEDAW
ประเทศไทยได้จัดท�ารายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญา CEDAW ส่งให้สหประชาชาติเมื่อเดือนมิถุนายน
๒๕๕๘ และคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ได้ก�าหนดพิจารณารายงานของไทยในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ที่ส�านักงาน
สหประชาชาติ นครเจนีวา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้จัดท�ารายงานคู่ขนานเสนอต่อคณะกรรมการประจ�า
อนุสัญญาฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารายงานของประเทศไทย และ กสม. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมของ
คณะกรรมการฯ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ เพื่อติดตามการพิจารณารายงานของไทยโดยคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ
รวมทั้งได้มีการหารือแยกกับคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ด้วย ในการหารือดังกล่าว คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ
ได้แสดงความสนใจและสอบถามผู้แทน กสม. ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พัฒนาการเชิงบวกทางด้านกฎหมายของไทยที่
เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีและสถานการณ์ของสตรีกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศไทยในช่วงการพิจารณารายงานของประเทศไทยภายใต้
อนุสัญญาฯ ในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมการฯ ได้สอบถามคณะผู้แทนไทยในประเด็นส�าคัญที่ครอบคลุมใน
เรื่องการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การคุ้มครองสตรีกลุ่มต่าง ๆ การยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสถานการณ์สตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น ซึ่งคณะผู้แทนไทยได้
ชี้แจงข้อซักถามของคณะกรรมการฯ รวมทั้งได้ย�้าถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีใน
ประเทศไทยต่อไป
ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม
การเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณารายงานของประเทศไทยตามพันธกรณีภายใต้กติกา ICCPR และอนุสัญญา
CEDAW ของผู้แทน กสม. ข้างต้นเป็นไปตามอ�านาจหน้าที่ของ กสม. ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของรัฐ
ทั้งนี้ ในการพิจารณารายงานของรัฐภาคีภายใต้สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนแต่ละฉบับ คณะกรรมการประจ�า
สนธิสัญญาได้เปิดโอกาสให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดส่งข้อมูลให้กับคณะกรรมการประจ�าสนธิสัญญาในรูปแบบ
ของรายงานคู่ขนานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสนธิสัญญาของรัฐภาคีให้คณะกรรมการประจ�าสนธิสัญญาเพื่อประกอบการ
พิจารณาด้วยส�าหรับผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุมทั้งสองครั้งข้างต้น นอกจากผู้แทน กสม. จะได้น�าเสนอข้อคิดเห็น
ต่อคณะกรรมการประจ�าสนธิสัญญาแล้ว ยังได้หารือกับหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไทย และผู้แทนจากภาคประชาสังคม
เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นส�าคัญเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและสิทธิสตรีของไทยในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์
ในการท�างานร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมได้เสร็จสิ้นลง คณะกรรมการประจ�าสนธิสัญญาได้จัดท�ารายงาน
ผลการพิจารณารายงานของประเทศไทย (Concluding observations) ที่ประกอบด้วยข้อสังเกตและข้อเสนอแนะใน
ประเด็นที่คณะกรรมการประจ�าสนธิสัญญาเห็นว่าประเทศไทยยังมิได้มีมาตรการหรือการด�าเนินการที่เป็นรูปธรรมเพียงพอ
ซึ่ง กสม. สามารถน�าข้อสังเกตเหล่านี้มาเป็นแนวทางในการติดตามการด�าเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งการมีข้อ
150 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐