Page 150 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 150

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




                                                                   ๑. ผลักดันให้รัฐเร่งรัดการปฏิบัติตามหลักการ UNGPs
                                                          ทั้งในด้านนโยบาย  การออกกฎหมายและการบังคับใช้
                                                          โดยประเด็นที่เป็นข้อห่วงกังวล คือ การด�าเนินภารกิจของรัฐ
                                                          ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ อาทิ กิจกรรมของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

                                                          การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะ และการด�าเนินงานของสถาบันการเงิน
                                                                   ๒. ภาคธุรกิจจะต้องใช้ความเป็นผู้น�าและผลักดันให้
                                                          เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)    บทที่ ๒
                                                          โดยเริ่มตั้งแต่บริษัทแม่ ผู้ผลิตและจัดหา (supplier) สถาบันการเงิน

                                                          รวมทั้งกลไกบริหารงานภายในองค์กร
                                                                   ๓. การเคารพสิทธิมนุษยชนจะเป็นหัวใจของการ
            ด�าเนินธุรกิจที่มุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
                     ๔. ทุกภาคส่วนจะต้องเร่งพยายามปรับปรุงกลไกและช่องทางในการเยียวยาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการละเมิด

            สิทธิมนุษยชน พร้อมกับด�าเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบาง


                     ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม



                     ประธาน กสม. และ กสม. ที่เข้าร่วมประชุมได้ใช้โอกาสนี้รับทราบการน�าเสนอประสบการณ์ของหน่วยงานภาครัฐ
            ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อการประชุมที่หลากหลาย ในประเด็นที่
            เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการเข้าร่วมหารือกับผู้แทน UNDP และกระทรวงยุติธรรม เพื่อเตรียมการ
            ส�าหรับการจัดสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่และขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติใน

            ประเทศไทย โดยความรู้และข้อมูลที่ได้จากการประชุม UN Forum ในครั้งนี้ได้น�ามาใช้ประกอบการจัดท�าเอกสารส�าคัญ ๆ
            ในการจัดสัมมนาดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร
            โดยเฉพาะการจัดท�าปาฐกถาพิเศษของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของ
            สหประชาชาติกับการสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ” เอกสารปฏิญญาความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนหลักการชี้แนะฯ

            ในประเทศไทย เอกสารค�ากล่าวน�าความเป็นมาของการสัมมนาของประธาน กสม. และเอกสารเผยแพร่อื่นๆ


            ๕.๓  การจัดท�ารายงานการปฏิบัติตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชน


                     ๕.๓.๑  รายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามกติกา ICCPR



                            ประเทศไทยได้จัดท�ารายงานการปฏิบัติตามกติกา ICCPR ส่งให้สหประชาชาติเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๘
            และคณะกรรมการประจ�ากติกาฯ ได้ก�าหนดพิจารณารายงานของไทยในวันที่ ๑๓ – ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ ที่ส�านักงาน

            สหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันฐรัฐสวิส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้จัดท�ารายงานคู่ขนานเสนอต่อคณะ
            กรรมการประจ�ากติกาฯ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารายงานของประเทศไทย และ กสม. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการ
            ประชุมของคณะกรรมการฯ ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๐ เพื่อติดตามการพิจารณารายงานของไทยโดยคณะกรรมการประจ�า
            กติกาฯ รวมทั้งได้มีการหารือเป็นการเฉพาะกับคณะกรรมการประจ�ากติกาฯ ด้วย ในการหารือดังกล่าว คณะกรรมการ

            ประจ�ากติกาฯ ได้แสดงความสนใจและสอบถามผู้แทน กสม. ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน
            ประเทศไทยภายหลังการรัฐประหารและสถานการณ์ในปัจจุบัน ปัญหาการค้ามนุษย์ สถานการณ์เด็กผู้อพยพในห้องกัก
            ของส�านักงานตรวจคนเข้าเมือง สถานการณ์ของผู้เสียหายจากการกระท�าความรุนแรงในครอบครัวในสถานที่พักพิงของ
            กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ข้อห่วงกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคล

                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 149
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155