Page 147 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 147

๕.๒  ความร่วมมือกับกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนและหน่วยงานของสหประชาชาติ



                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่า
           ด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Inter-governmental Commission on Human Rights – AICHR) ๒ ครั้ง และการประชุม

           ที่จัดโดยคณะท�างานของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ๑ ครั้ง ดังนี้


                                                                    ๕.๒.๑ การประชุมจัดโดย AICHR



                                                                    (๑) การประชุมเรื่องการส่งเสริมความรับผิดชอบ
                                                            ทางสังคมของภาคธุรกิจ (Corporate Social Responsibility :
                                                            CSR) และสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ระหว่างวันที่ ๓ – ๔
                                                            พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ โรงแรม Mandarin Orchard ประเทศ

                                                            สิงคโปร์


                                                                    การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการ
                                                            ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  (ASEAN

           Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ร่วมกับ ASEAN CSR Network โดยได้รับการสนับสนุน
           จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Programme – UNDP) รัฐบาลสวีเดน และสหภาพยุโรป
           ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และภาคประชาสังคมในภูมิภาค
           อาเซียน รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานของสหประชาชาติ รวมประมาณ ๑๐๐ คน ในส่วนของประเทศไทย นอกจาก

           คณะผู้แทนจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแล้ว ยังมีผู้แทนจากภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม (น�าโดยอธิบดี
           กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) และกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนจากภาคธุรกิจ (เครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเข้าร่วมประชุม
           ในนามของ UN Global Compact ประเทศไทย) และผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม
                   การประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักเรื่อง CSR แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมและการส่งเสริมให้มีการน�า

           CSR ไปใช้ในการด�าเนินธุรกิจและบทบาทของภาครัฐในเรื่องดังกล่าวทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค โดยในระดับภูมิภาค
           จะมีการจัดท�าข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดท�ายุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริม CSR และสิทธิมนุษยชนในอาเซียนด้วย ประเด็นส�าคัญ
           ที่มีการหารือในที่ประชุม ได้แก่ บทบาทของ CSR ในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ การด�าเนินการตาม
           แนวทาง CSR และสิทธิมนุษยชนในอาเซียน แนวทางการจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

           ประสบการณ์การจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติ (NAP) จากในและนอกภูมิภาค


                   ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม



                   ประธาน กสม. ได้น�าเสนอบทบาทของ กสม. ในกระบวนการจัดท�าแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับ
           สิทธิมนุษยชน โดยมีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานหลักในการ
           จัดท�าแผนปฏิบัติการดังกล่าว รวมทั้งได้น�าเสนอข้อเสนอแนะของ กสม. ต่อการจัดท�ายุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยเรื่องธุรกิจ
           กับสิทธิมนุษยชน ที่ควรจะต้องจัดท�าการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรับทราบสภาพปัญหา และประเด็นท้าทายร่วมกันของ

           ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดท�ายุทธศาสตร์ดังกล่าว







            146 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152