Page 142 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 142
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๕. ผลกำรด�ำเนินงำนด้ำนสิทธิมนุษยชนระหว่ำงประเทศ
การด�าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อ
เสริมสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรระหว่างประเทศ ทั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในประเทศต่าง ๆ กลไกด้าน
สิทธิมนุษยชนของอาเซียน และหน่วยงานของสหประชาชาติ เพื่อติดตามพัฒนาการที่ส�าคัญด้านสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศ และแลกเปลี่ยนแนวทางการด�าเนินงานเพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนในประเด็นที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน
เช่น บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการคุ้มครองสิทธิเด็ก การยกเลิกโทษประหารชีวิต และการส่งเสริมการเคารพ บทที่ ๒
สิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นต้น
นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติยัง
ท�าหน้าที่ติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชนของไทยโดยการจัดท�ารายงานการปฏิบัติตาม
สนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีใน
รูปแบบของรายงานเสนอต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญประจ�า
สนธิสัญญาแต่ละฉบับคู่ขนานกับรายงานของประเทศ โดย
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ กสม. ได้จัดท�ารายงานการ
ปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ๒ ฉบับ คือ กติกา
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และ
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
(CEDAW) ทั้งนี้ การด�าเนินงานด้านต่างประเทศที่ส�าคัญในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีดังนี้
๕.๑ ความร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในระดับต่าง ๆ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เข้าร่วม
การประชุมประจ�าปีของเครือข่ายสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติที่ กสม. เป็นสมาชิกอยู่ทั้งในระดับระหว่างประเทศ
ได้แก่ Global Alliance of National Human Rights
Institutions (GANHRI) และในระดับภูมิภาคประกอบด้วย
เครือข่ายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ Asia-Pacific Forum
(APF) และเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่
South East Asia National Human Rights Institutions
Forum (SEANF)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 141