Page 141 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 141
๔.๓ การจัดท�ารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผล
การปฏิบัติงานประจ�าปี
การจัดท�ารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
เป็นหน้าที่หลักของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ส�านักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงได้พัฒนาระบบการติดตามและประเมินสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพื่อติดตามเฝ้าระวัง ประเมิน และรายงานสถานการณ์
ความก้าวหน้าหรือถดถอยด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ การพัฒนาระบบงาน
ดังกล่าวจะส่งผลให้ (๑) เกิดกลไกการติดตามและประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนอย่าง
เป็นระบบและต่อเนื่อง สามารถเชื่อมโยงและสนับสนุนกับกระบวนการท�างานด้านอื่น ๆ
ขององค์กรได้ เช่น การพัฒนาหัวข้อการศึกษาวิจัยหรือข้อเสนอแนะนโยบายและ
กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน การน�าประเด็นปัญหาส�าคัญไป
ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนเชิงระบบ การแสวงหามาตรการป้องกันร่วมกับศูนย์
ประสานงาน ฯ ในภูมิภาค เป็นต้น (๒) เกิดระบบฐานข้อมูลความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
ในสิทธิหรือประเด็นส�าคัญด้านต่าง ๆ และ (๓) เกิดบุคลากรที่มีความรู้ ความสนใจและ
ติดตามประเด็นปัญหาเฉพาะด้านและได้รับการพัฒนาจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น
ซึ่งจะเป็นทรัพยากรส�าคัญขององค์กรในอนาคต ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้จัดท�า
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย จ�านวน ๒ ฉบับ ดังนี้
(๑) การจัดท�ารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘ ของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในปี ๒๕๕๘
ได้แก่ สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สถานการณ์
และสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง
(๒) การจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ ของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ
ในปี ๒๕๕๙ ได้แก่ สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์เฉพาะ เช่น การค้ามนุษย์ สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น และ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ชนพื้นเมือง และคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น
นอกจากนี้ ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดท�ารายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘
และ ๒๕๕๙ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อแสดงถึง
ผลส�าเร็จในการด�าเนินการตามแผนปฏิบัติงานและผลการด�าเนินงานที่ส�าคัญ อาทิ การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ หรือข้อบังคับต่อสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมความ
ร่วมมือและการประสานงานเครือข่ายการด�าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการและ
การพัฒนาส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
140 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐