Page 149 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 149
รวม ๓ กิจกรรม คือ (๑) การจัดให้มีเวทีส�าหรับการหารือและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนพิการและภาคส่วนอื่น (๒) การจัด
กิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ และ (๓) การจัดตั้งกรอบการท�างานที่สามารถวัดผลได้และมีกระบวนการที่ยั่งยืนในการ
เสริมสร้างสิทธิของคนพิการ โดยในกิจกรรมแรก AICHR ได้ด�าเนินการโดยจัดให้มีการประชุมหารือระดับภูมิภาคที่มีผู้มีส่วน
ได้เสียจากระดับภูมิภาคและระดับประเทศ รวมทั้งผู้แทนขององค์กรภาคประชาสังคมของคนพิการ (DPOs) เข้าร่วมด้วย
ในประเด็นที่สอง AICHR ได้เน้นการสร้างความตระหนักรู้ โดยจัดโครงการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นประเด็นที่หลากหลายเกี่ยวกับ
สิทธิของคนพิการ และประเด็นที่สาม AICHR ได้จัดตั้งคณะท�างานเพื่อสิทธิของคนพิการในอาเซียน (Task Force for the
Mainstreaming of the Rights of Persons with Disabilities) ซึ่งเป็นกรอบการท�างานที่สามารถวัดผลการด�าเนินงานได้
สาระส�าคัญของการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย
๑. การเข้าถึงความยุติธรรม (access to justice) โดยเน้นว่าการเข้าถึงความยุติธรรมไม่เพียงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับผู้จัดท�านโยบายสาธารณะ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย
๒. การเป็นผู้ประกอบการของคนพิการ (persons with disabilities as entrepreneurs) โดยที่ประชุมได้เน้น
ย�้าในข้อเท็จจริงที่ว่า คนพิการไม่ใช่เพียงแค่ผู้รับสวัสดิการ แต่สามารถมีบทบาทที่ส�าคัญทางด้านเศรษฐกิจได้ด้วยตนเอง
ตลอดจนมีสิทธิในการประกอบธุรกิจและการท�าหน้าที่เป็นนายจ้างหรือท�างานด้วยตนเอง
๓. การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (disaster risk management) โดยที่ประชุมมีความเห็นว่า คนพิการ
มักเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดกว่าคนกลุ่มอื่นในสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยความพิการและสิทธิของคนพิการควรได้รับการ
บูรณาการเข้าไปสู่ภาคส่วนและกลไกต่าง ๆ ของอาเซียนที่รับผิดชอบในด้านการจัดการภัยพิบัติและการให้ความช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรม
ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม เนื่องจาก กสม. มีการท�างานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ
ของคนพิการ การเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้นอกจากจะได้รับทราบความคืบหน้าในการด�าเนินการด้านสิทธิคนพิการของ
หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียนแล้ว ยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่ของอาเซียน ผู้แทนสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งผู้แทนองค์การระหว่างประเทศและองค์กรภาคประชาสังคม
ของคนพิการในเรื่องบทบาทของสถาบันสิทธิฯ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของคนพิการทั้งใน
ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ทั้งนี้ เพื่อน�ามาพัฒนาการท�างานของ กสม. ในเรื่องดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
๕.๒.๒ การประชุม UN Forum on Business and Human Rights ประจ�าปี ๒๕๕๙ ระหว่าง
วันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ นครเจนีวา
การประชุม UN Forum ว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนจัดขึ้นตามข้อมติคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง
สหประชาชาติ ที่ ๑๗/๔ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเวทีส�าหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและ
ประสบการณ์การท�างาน ตลอดจนแนวโน้มและสิ่งท้าทายที่ได้รับจากการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับ
สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGPs) พร้อมกับเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนตั้งแต่รัฐ กลไกของสหประชาชาติ
ภาคธุรกิจ สหภาพแรงงาน สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ตลอดจน
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการด�าเนินธุรกิจได้เข้าร่วม การประชุม UN Forum ดังกล่าวได้จัดมาแล้วทั้งสิ้น ๔ ครั้ง โดยการ
ประชุมระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ นี้เป็นครั้งที่ ๕ ภายใต้หัวข้อหลัก คือ “Leadership and Leverage
: Embedding Human Rights in the rules and relationship that drive the global economy” โดยการประชุม
ได้เน้น ๔ ประเด็นที่ส�าคัญ ดังนี้
148 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐