Page 148 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 148
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๒) การประชุมสัมมนาของ AICHR ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศ (AICHR Judicial Colloquium on the Sharing of Good Practices regarding International
Human Rights Law) วันที่ ๑๓ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
การประชุมครั้งนี้เป็นการแสวงหาจุดร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการ
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้วยการแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการด�าเนินการตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ระหว่างประเทศทั้งในส่วนของรัฐบาลและฝ่ายตุลาการของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ มีเป้าหมายเพื่อให้การปฏิบัติ บทที่ ๒
ตามกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Declaration on Human Rights – ADHR) ข้อ ๑๗ ที่ได้ก�าหนดให้อาเซียนมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อ “เสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ส่งเสริมให้หลักธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรมมีความเข้มแข็ง และเพื่อส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน โดยค�านึงถึงสิทธิและความรับผิดชอบของประเทศสมาชิกอาเซียนใน
การสร้างประชาคมที่อยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่มีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน” และแผนงานของประชาคมอาเซียน
ด้านการเมืองและความมั่นคง พ.ศ. ๒๕๖๘ (๒๐๒๕) ข้อ 6 A 2.4 ที่ก�าหนดให้ประชาคมอาเซียน “จัดตั้งโครงการเพื่อ
สนับสนุนความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนายุทธศาสตร์การ
เสริมสร้างหลักนิติธรรมและระบบตุลาการและโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย” ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับ
ข้อตกลงการจัดตั้ง (TOR) ของ AICHR ในการพัฒนายุทธศาสตร์การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้น
ฐาน รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างการสร้างประชาคมอาเซียน ส่งเสริมการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามพันธกรณี
ตามอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าเป็นภาคีอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริม
การใช้เครื่องมือของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีสาระส�าคัญ ๖ เรื่อง ประกอบด้วย
๑. บทบาทของศาลยุติธรรมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน – อนุสัญญาว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อ
สตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD)
๒. บทบาทของศาลยุติธรรมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามกลไกของอาเซียน
๓. การเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ที่ ๑๖
๔. กรณีศึกษาจากกลไกของภูมิภาคแอฟริกา (จากการส่งเสริมสู่การคุ้มครอง)
๕. นิติธรรมและสิทธิมนุษยชน – ข้อท้าทายและโอกาส
๖. ความร่วมมือในอนาคตของสถาบันตุลาการในประเทศสมาชิกอาเซียนที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน – ข้อเสนอ
แนะและแนวทางที่เป็นไปได้
ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม
กสม. ได้มีโอกาสรับทราบการด�าเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาค เปรียบ
เทียบกับการด�าเนินงานของกลไกในระดับอาเซียน รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การท�างานกับผู้เข้าร่วมประชุมอื่น ๆ
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานของศาลและกระบวนการยุติธรรมในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งความรู้ที่ได้รับจากการประชุมในครั้ง
นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการท�างานของ กสม. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท�างานร่วมกันระหว่าง กสม. ศาล และหน่วยงานทาง
ด้านกระบวนการยุติธรรมของไทยต่อไป
(๓) การประชุมระดับภูมิภาคของ AICHR เกี่ยวกับสิทธิของคนพิการในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ ๓ (3 AICHR
rd
Regional Dialogue on the Mainstreaming of the Rights of People with Disabilities in the ASEAN
Community) ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ที่จังหวัดภูเก็ต การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ คนพิการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย AICHR ได้จัดท�าแผนงานอย่างเป็นระบบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 147