Page 145 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 145

ประเทศที่ยกเลิกส�าหรับความผิดประเภท ordinary crimes มี ๑ ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน ประเทศที่ยกเลิกในทางปฏิบัติ
           มี ๔ ประเทศ ได้แก่ มัลดีฟส์ เมียนมา เกาหลีใต้ และศรีลังกา ส่วน ๑๐ ประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต (retentionist)
           ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย จอร์แดน มาเลเซีย โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ และไทย ข้อมูลในรายงาน
           ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการด�าเนินการของ กสม. ในการรณรงค์เพื่อให้มีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตอย่างเป็น

           ขั้นตอนในประเทศไทยต่อไป


                   ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุม



                   การเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมต่าง ๆ ของ APF โดยเฉพาะการประชุมประจ�าปีซึ่งเป็นเวทีการประชุมที่ประธาน
           สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นสมาชิก APF เข้าร่วมประชุมเปิดโอกาสให้ประธาน กสม. ของไทยได้แสดงวิสัยทัศน์
           และน�าเสนอผลการด�าเนินงานที่ส�าคัญของ กสม. ให้สถาบันสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ในภูมิภาค รวมทั้งผู้แทนองค์การระหว่าง
           ประเทศและภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประธานสถาบัน

           สิทธิมนุษยชนของประเทศอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานของความร่วมมือระหว่างกันต่อไปในอนาคตการประชุมเครือข่าย Senior
           Executive Officers (SEO) Network Roundtable Meeting ของ APF ระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่เมือง
           มะละกา ประเทศมาเลเซีย



                   ส�านักงาน กสม. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายผู้บริหารระดับสูงของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่ง
           เป็นสมาชิก APF (Senior Executive Officers (SEO) Network Roundtable Meeting)  ระหว่างวันที่ ๒๙-๓๐ สิงหาคม
           ๒๕๖๐ ที่เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่
           ดีระหว่างผู้บริหารระดับสูงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารส�านักงาน รวมทั้งเพื่อสร้างเครือข่ายการติดต่อระหว่าง

           ผู้บริหารส�านักงาน โดยในปี ๒๕๖๐ ได้เน้นในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ในการท�างานระหว่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
           แห่งชาติกับผู้บริหารส�านักงาน และการติดตามและรายงานผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
           ผลส�าเร็จของการเข้าร่วมประชุมผู้แทน กสม. ได้เป็นผู้น�าเสนอประเด็นเรื่องการติดตามและประเมินผลการด�าเนินงานของ
           กสม. ซึ่งแยกเป็นการติดตามการด�าเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจ�าปี ปัจจัยที่ส่งผลต่อความส�าเร็จของการด�าเนินการ

           ตามแผนฯ การติดตามมาตรการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะนโยบาย ปรับปรุงกฎหมาย การประเมินผลการด�าเนินงาน
           และข้อสังเกตจากผลการประเมินในปี ๒๕๕๙


                   ๕.๑.๓  ความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANF)



                          การเข้าร่วมประชุมในระดับเจ้าหน้าที่ (Technical Working Group - TWG) เพื่อเตรียมการส�าหรับ
           การประชุมประจ�าปีของ SEANF ครั้งที่ ๑๔ จ�านวน ๒ ครั้ง
                          - การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ของ SEANF ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๗ - ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐

           ที่กรุงมะนิลา ซึ่งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของฟิลิปปินส์ในฐานะประธาน SEANF เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนการ
           ด�าเนินงานของสมาชิกในประเด็นสิทธิมนุษยชนตามแผนยุทธศาสตร์ของ SEANF รวมทั้งเพื่อเตรียมการส�าหรับการประชุม
           ประจ�าปีครั้งที่ ๑๔ ของ SEANF ที่ก�าหนดจะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยได้มีการหารือในประเด็นต่าง ๆ เช่น
                          (๑) เรื่องสิทธิผู้สูงอายุ (Older persons) ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการด�าเนินการในเรื่องสิทธิ

           ผู้สูงอายุ โดยผู้แทนส�านักงาน กสม. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับการด�าเนินการของรัฐบาลเรื่องผู้สูงอายุ
           ว่า ประเทศไทยก�าลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รัฐบาลได้ให้ความส�าคัญกับปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุ โดยมีการวางแผนยุทธศาสตร์
           ในระดับชาติ และมีการด�าเนินการเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าว เช่น การจ้างงานผู้สูงอายุ เป็นต้น



            144 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150