Page 140 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 140
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.๖ ในระหว่างที่ความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลยังไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นความผิดที่มีโทษใน
ทางอาญา หากผู้ถูกลงโทษจ�าคุกในคดีดังกล่าวได้อุทธรณ์หรือฎีกาแล้วศาลมีค�าพิพากษาในเวลาต่อมาว่าบุคคลดังกล่าว
ไม่ได้กระท�าผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล บุคคลผู้นี้ต้องได้รับการเยียวยาชดเชย โดยอาศัยพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๘ เนื่องจากการที่บุคคลถูกจ�าคุกโดยที่ไม่ได้กระท�าความผิดถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง ซึ่งการ
เยียวยาบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนถือเป็นหนึ่งในภารกิจของกองทุนยุติธรรม
การน�าไปใช้ประโยชน์ บทที่ ๒
• ใช้ประโยชน์ในการทางวิชาการ ผ่านการเผยแพร่ในห้องสมุดและผ่านเว็บไซต์ส�านักงาน และบทความวิชาการ
๔.๒ การขับเคลื่อนผลงานการศึกษาวิจัยสู่สังคม
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ส�านักงาน กสม. ได้มีการด�าเนินการเพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรและหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ น�าผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
๔.๒.๑ จัดพิมพ์หนังสือรายงานการศึกษาวิจัยและเผยแพร่ไปยังหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
และสถาบันการศึกษา จ�านวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) เรื่อง “ปัญหาและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากนโยบายของรัฐบาล
ในการประกาศสงครามต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖” (๒) เรื่อง “ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหา
ผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว” (๓) เรื่อง “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ของภาคเอกชน” (๔) เรื่อง “มาตรฐานสากลในการด�าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน”
๔.๒.๒ ใช้เป็นข้อมูลในการสนับสนุนการจัดท�ารายงานประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจ�าปีขององค์กร
จ�านวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) เรื่อง “การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ของนิสิตนักศึกษาไร้สัญชาติในสถาบันอุดมศึกษา” (๒) เรื่อง “บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครอง
การละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน” (๓) เรื่อง “มาตรฐานสากลในการด�าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน”
(๔) เรื่อง “แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒”
๔.๒.๓ ใช้สนับสนุนการจัดท�ารายงานผลการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน รายงานผลการพิจารณาการจัดท�าข้อเสนอ
แนะนโยบาย/ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย จ�านวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) เรื่อง “ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหา
ผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว” (๒) เรื่อง “ปัญหาการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมของบุคคลผู้ที่มีอาการตาบอดสี”
(๓) เรื่อง “ผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน” (๔) เรื่อง "ปัญหาและมาตรการทาง
กฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว"
๔.๒.๔ ใช้เป็นข้อมูลเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน อาทิ การจัดท�าสื่อเพื่อสื่อสารแนวคิดธุรกิจ
กับสิทธิมนุษยชน การรณรงค์ให้ภาคธุรกิจด�าเนินการตามหลักการ UNGPs จ�านวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) เรื่อง “บทบาท
ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน” (๒) เรื่อง “มาตรฐานสากล
ในการด�าเนินธุรกิจเพื่อการเคารพสิทธิมนุษยชน” (๓) เรื่อง “แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒” และ (๔) เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human
Rights Due Diligence) และการจัดท�าคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของธุรกิจการโรงแรม รวมทั้ง
รายการตรวจสอบ (checklist) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม”
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 139