Page 139 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 139
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิได้ก�าหนดให้มีการเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณา ดังนั้นการพิจารณาและ
ลงโทษจ�าเลยในความผิดฐานดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดความสงสัยแก่บุคคลทั่วไปว่าศาลที่พิจารณาคดีจะมีความเป็นกลาง
ปราศจากอคติหรือไม่มีส่วนได้เสียหรือไม่เพียงใด เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรใด ๆ ที่ก�าหนดให้ต้องมีการ
เปลี่ยนองค์คณะที่พิจารณาหรือผู้ถูกกล่าวหาสามารถแถลงคัดค้านผู้พิพากษารายนั้น ๆ ได้
(๒) สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในการสู้คดี ผู้ถูกกล่าวหาในคดีความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลไม่ได้รับการ
คุ้มครองดังเช่นจ�าเลยในคดีอาญาอื่น ๆ เช่น สิทธิในการมีทนายความและสิทธิในการเตรียมการสู้คดี เป็นต้น
(๓) การเยียวยาผู้ถูกกล่าวหาในคดีความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล เมื่อความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลไม่
ถูกพิจารณาว่าเป็นความผิดในทางอาญา หากในเวลาต่อมาศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ที่ถูกลงโทษในความผิดฐาน
ละเมิดอ�านาจศาลไปแล้วนั้น มิได้กระท�าผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล บุคคลผู้นี้จะไม่มีสิทธิได้รับการเยียวยาชดเชยความเสียหาย
ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนจ�าเลยและค่าใช้จ่ายแก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ แต่อย่างใด
๖. อัตราโทษความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล อัตราโทษปรับและอัตราโทษจ�าคุกในความผิดฐานละเมิดอ�านาจ
ศาลได้ถูกก�าหนดไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๗๗ จึงควรพิจารณาว่าอัตราโทษดังกล่าวยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือ
ไม่ นอกจากนี้ อัตราโทษปรับและโทษจ�าคุกตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มีความแตกต่างกับอัตราโทษในความผิด
ฐานละเมิดอ�านาจศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ อีกด้วย จึงสมควรที่
จะทบทวนความสอดคล้องในเรื่องบทก�าหนดโทษของความผิดฐานดังกล่าวของกฎหมายทั้งสองฉบับ บทบัญญัติเรื่องความ
ผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลยังคงมีความจ�าเป็นในฐานะเครื่องมือของศาลในการรักษาความสงบเรียบร้อยในการพิจารณาคดี
อย่างไรก็ดีการบังคับใช้ความผิดฐานดังกล่าวมีข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ดังต่อไปนี้
๖.๑ หากมีการละเมิดอ�านาจศาลเกิดขึ้นต่อหน้าศาลในระหว่างการพิจารณาคดี ศาลที่พบเห็นการกระท�า
ดังกล่าวควรมีอ�านาจที่จะตักเตือนหรือไล่บุคคลที่กระท�าการดังกล่าวออกจากศาลเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการ
ด�าเนินคดี
๖.๒ ข้อก�าหนดของศาลในเรื่องความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลต้องมีความชัดเจน เพื่อให้ประชาชน
ทั่วไปสามารถเข้าถึงและรับทราบได้ล่วงหน้า โดยในเบื้องต้นศาลอาจท�าการเผยแพร่เป็นการทั่วไปผ่านทางเว็บไซต์ของศาล
และในอนาคตข้อก�าหนดเรื่องการละเมิดอ�านาจศาลเหล่านี้ควรได้รับการพิจารณาโดยออกเป็นกฎหมายจากฝ่ายนิติบัญญัติ
๖.๓ เมื่อมีการด�าเนินคดีละเมิดอ�านาจศาล ควรให้สิทธิในการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (fair trial) เช่น
สิทธิในการมีทนายความ สิทธิในการเตรียมตัวสู้คดี สิทธิในเผชิญหน้ากับพยานหลักฐานกับผู้ถูกกล่าวหาเพื่อให้สอดคล้อง
กับหลักสิทธิมนุษยชนในกติการะหว่าประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
๖.๔ หากการกระท�าละเมิดอ�านาจศาลใดเป็นการกระท�ากรรมเดียวกับความผิดอาญาที่บัญญัติไว้ใน
ประมวลกฎหมายอาญาหรือพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาอยู่แล้ว ควรที่จะด�าเนินคดีอาญาตามปกติ และหากเป็นการ
กระท�าซึ่งหน้าศาล ให้ศาลที่พบความผิดส่งเรื่องให้พนักงานอัยการด�าเนินการฟ้องร้องผู้กระท�าความผิดอาญานั้นต่อศาลอีก
องค์คณะหนึ่งเลย ซึ่งท�าให้เกิดความรวดเร็วในการด�าเนินคดี และรักษาไว้ซึ่งการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกด�าเนินคดี
ในกรณีที่การกระท�าความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลเกิดขึ้นระหว่างการพิจารณาคดีแพ่ง ศาลที่
อยู่ในการพิจารณาอาจตักเตือนหรือไล่คู่กรณีออกจากห้องพิจารณาหรือหากบุคคลดังกล่าวยังไม่เชื่อฟัง ให้อัยการในท้อง
ที่ที่ศาลตั้งอยู่เป็นผู้ด�าเนินการฟ้องร้องในการด�าเนินคดีกับผู้ละเมิดอ�านาจศาลต่อไป
๖.๕ โทษในความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลควรแก้ไข กล่าวคืออัตราโทษปรับจากไม่เกิน ๕๐๐ บาท
เป็นไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทเพื่อให้สอดคล้องกับค่าเงินในปัจจุบันและอัตราโทษจ�าคุกควรแก้ไขจากจ�าคุกไม่เกิน ๖ เดือน
เป็นไม่เกิน ๑ เดือน เนื่องจากระยะเวลาจ�าคุก ๑ เดือนเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในการรักษาความสงบเรียบร้อยของ
ศาลแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นการสอดคล้องกับอัตราโทษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจาณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ อีกด้วย
138 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐