Page 137 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 137
การน�าไปใช้ประโยชน์
• ใช้เป็นข้อมูลในการด�าเนินการเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์กร
• ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดท�ารายงานประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนประจ�าปี
• ใช้ประโยชน์ในการทางวิชาการผ่านการเผยแพร่ในห้องสมุดและผ่านเว็บไซต์ส�านักงาน
๓. การศึกษาวิจัย เรื่อง “หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในกรณีความผิดฐานละเมิด
อ�านาจศาล”
ผู้ศึกษาวิจัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล)
สาระส�าคัญของการศึกษาวิจัย
โครงการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์หลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ
บุคคลในกรณีความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล และเพื่อจัดท�าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
ที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในกรณีความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล
ผลการศึกษาวิจัยระบุว่า ความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลเป็นมาตรการทางกฎหมาย ปรากฏทั้งในระบบกฎหมาย
Common Law และระบบกฎหมาย Civil Law โดยมีเจตนารมณ์เพื่อให้การใช้อ�านาจตุลาการในการพิจารณาคดีเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ตลอดจนเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล อย่างไรก็ตาม ความผิดฐานละเมิด
อ�านาจศาลในประเทศไทย ตามมาตรา ๓๑ - ๓๓ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ให้อ�านาจศาลสั่งลงโทษ
ผู้กระท�าความผิดได้โดยไม่จ�าเป็นต้องมีการสอบสวนหรือฟ้องร้องผู้กระท�าความผิดเพื่อพิสูจน์ความผิดนั้นก่อน ตลอด
รวมถึงความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ว่า ความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลไม่ใช่ความผิดทางอาญา ท�าให้เกิดค�าถาม
ว่าหลักการที่ปรากฏในประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งและความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องความผิดฐานละเมิด
อ�านาจศาล มีความสอดคล้องต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากลหรือไม่ ผู้ถูกกล่าวหาในคดีความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลควรได้
รับการคุ้มครองเพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างไร ตลอดรวมถึงความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลใน
ประเทศไทยควรมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยขึ้นหรือไม่ เพียงใด
ประเด็นในการศึกษา
๑. กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาล : ความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลใน
ประเทศไทยมีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ ๒ ฉบับ ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพระราชบัญญัติ
จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของกฎหมายทั้งสองฉบับจะ
พบว่าแนวทางปฏิบัติและบทลงโทษในความผิดฐานละเมิดอ�านาจศาลมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่งก�าหนดให้ผู้พิพากษาที่พบการกระท�าผิดสามารถด�าเนินการลงโทษผู้กระท�าการละเมิดอ�านาจศาลได้เลย
ซึ่งโทษดังกล่าวรวมถึงโทษปรับและโทษจ�าคุก ในขณะที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ก�าหนดให้ในกรณีที่ลงโทษบุคคลผู้กระท�าความผิดด้วยโทษปรับหรือจ�าคุก ต้องเปลี่ยนองค์คณะที่พิจารณา ส่วนอัตรา
โทษนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก�าหนดอัตราโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท และโทษจ�าคุกไม่เกิน ๖ เดือน
ในขณะที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ก�าหนดอัตราโทษปรับไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาทและโทษ
จ�าคุกไม่เกิน ๑ เดือน
๒. กฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเข้าเป็นภาคีสมาชิก : ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกของกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) กติการะหว่างประเทศฉบับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ไปยังรัฐภาคีให้มีการ
เคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของบุคคล รวมถึงการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาด้วย
136 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐