Page 135 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 135
ส�าหรับการประเมินสภาพแวดล้อม สถานการณ์ส�าคัญ
ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่าง
ประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย รวมทั้งประเมินแนวโน้ม
สถานการณ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.
๒๕๖๐ – ๒๕๖๒ คณะผู้วิจัยได้ท�าการประเมินสภาพแวดล้อมเชิง
มหภาคที่ก�าลังเกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง ๓ ปี ข้างหน้า
(พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒) โดยผลการประเมินสภาพแวดล้อมบ่งชี้
ถึงสถานการณ์ที่ส�าคัญใน ๔ มิติ ประกอบไปด้วย มิติทางด้าน
เศรษฐกิจ มิติทางด้านสังคม มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทาง
ด้านธรรมาภิบาล
จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยจึงได้
จัดท�าแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในภาพรวมที่มีความ
เชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๕ จ�านวน ๒๕ กลยุทธ์ โดยมีสาระส�าคัญดังนี้
กลยุทธ์ที่ ๑ : การให้ค�าปรึกษาในการจัดท�าแผนปฏิบัติการ
แห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Action Plan
on Business and Human Rights: NAP)
กลยุทธ์ที่ ๒ : การประมวลข้อสรุปจากเรื่องร้องเรียนออกมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กลยุทธ์ที่ ๓ : การตรวจสอบประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นจากภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น
โครงการขนาดใหญ่ แย่งชิงฐานทรัพยากร การท�าลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การตรวจสอบผลการด�าเนินงานของภาครัฐ
อาทิ ภาครัฐมีกลไกการคุ้มครองและเยียวยาในทางปฏิบัติเป็นอย่างไร และกลไกการตรวจสอบของภาครัฐ
กลยุทธ์ที่ ๔ : การสนับสนุนเชิงเทคนิคและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น การให้ความรู้ในกระบวนการ
เยียวยาของศาลและภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การผลักดันแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดน และการผลักดันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพิ่มเติม
กลยุทธ์ที่ ๕ : การสนับสนุนการเชื่อมโยงแผนต่าง ๆ ของประเทศให้มีประเด็นสิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดมากขึ้น
กลยุทธ์ที่ ๖ : การให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่
เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ เช่น การให้มีกฎหมายการต่อต้านการฟ้องร้องด�าเนินคดีเพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณะ
(Anti-SLAPP) การให้มีการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนหรือผู้ให้ข้อมูล (whistle blower) และการสนับสนุนให้ท�า
การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย (RIA) เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ ๗ : การสนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ (CSR เป็นจุดเริ่ม
ที่ดีแต่ยังไม่เพียงพอ) รวมไปถึงความส�าคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่เคารพสิทธิมนุษยชน
กลยุทธ์ที่ ๘ : การผลักดันการเผยแพร่คู่มือ HRDD ในภาคปฏิบัติ
กลยุทธ์ที่ ๙ : การให้ค�าแนะน�าทางเทคนิคว่าด้วยการจัดท�ารายงานประจ�าปี รวมทั้งการส่งเสริมให้บริษัทจัดตั้ง
กลไกในการขับเคลื่อนภายในองค์กรเพื่อด�าเนินงานตามนโยบายของบริษัท เช่น การจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรฐาน
แรงงาน ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐานจะสะท้อน KPI ของบริษัท และภาพลักษณ์ของประเทศ
กลยุทธ์ที่ ๑๐ : การจัดท�าฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน เพื่อน�าไปสู่การถอดบทเรียนว่า
ประเด็นร่วม (common issue) ของธุรกิจแต่ละสาขา และจัดท�าข้อเสนอแนะกับภาคเอกชนถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดี
กลยุทธ์ที่ ๑๑ : การเฝ้าระวังปัญหาเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชน เช่น เกษตรพันธสัญญา การค้ามนุษย์
แย่งชิงฐานทรัพยากร การท�าลายสิ่งแวดล้อม การลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
134 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐