Page 133 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 133

สิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ควรจะรายงานอย่างเป็นทางการว่า องค์กรธุรกิจนั้นได้ดูแลผลกระทบเหล่านั้นอย่างไร ในทุกกรณี
           การสื่อสารควรจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
                   (ก) มีรูปแบบและความถี่ที่สะท้อนผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรธุรกิจ และกลุ่มเป้าหมายของ
           การสื่อสารควรจะเข้าถึงได้

                   (ข) จัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอที่จะประเมินว่าองค์กรธุรกิจได้ตอบสนองต่อผลกระทบทางสิทธิมนุษยชน
           อย่างเพียงพอแล้วหรือไม่
                   (ค) ในทางกลับกันการสื่อสารนั้น ๆ จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้มีส่วนได้เสียได้รับผลกระทบ บุคลากร
           หรือข้อก�าหนดที่ชอบธรรมในเรื่องความลับเชิงพาณิชย์



                 หลักการข้อที่ ๒๒ ในกรณีที่องค์กรธุรกิจถูกระบุว่าได้ก่อให้เกิดหรือมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน องค์กร
           ธุรกิจเหล่านั้นควรจัดให้มีหรือร่วมมือในการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยใช้กระบวนการที่ชอบธรรม
                 กระบวนการการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นหนึ่งประเด็นส�าคัญของหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจ

           และสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งก�าหนดให้การเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นความรับผิดชอบของบริษัท บริษัทต้อง “รู้
           และแสดง (know and show)” ด้วยแนวทางต่อไปนี้
                   (๑) การสร้างข้อผูกมัดด้านสิทธิมนุษยชนในนโยบายของบริษัท
                   (๒) ท�างานเชิงรุกด้วยกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

                   (๓) แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและชดเชยต่อกรณีการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นหรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการด�าเนินงาน
           ของบริษัท


                   ส�าหรับกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน แม้จะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการตรวจ

           สอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่แตกต่างกันตามบริบทของธุรกิจ สิ่งส�าคัญซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรตระหนัก คือ
           การสร้างการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านที่มีความหมายไม่ใช่เพียงแค่งานที่ท�าแล้วเสร็จสิ้นในครั้งเดียว แต่เป็น
           กระบวนการต่อเนื่อง ในการสร้างความรับผิดชอบของบริษัทและการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายภายในบริษัท กระบวนการ
           ตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเป็นเครื่องมือหลักในการแสดงความเคารพในสิทธิมนุษยชนของบริษัท

           อันประกอบด้วยหลักการส�าคัญตามที่ระบุไว้ในหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ๕ องค์ประกอบ ดังนี้


                   (๑) การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัทที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน (A statement of policy
           articulating the company’s commitment to respect human rights) ซึ่งจะอธิบายต่อสาธารณะว่าธุรกิจจะด�าเนินการ

           อย่างไรในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอก รวมถึงการระบุความรับผิดชอบของ
           ผู้เกี่ยวข้องในโครงสร้างการท�างานของธุรกิจ
                   (๒) การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท (Assessment of
           actual and potential human rights impacts of company activities and relationships) หมายถึงการพิจารณา

           ว่าใครที่ได้รับ/มีแนวโน้มได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการด�าเนินงาน ซึ่งธุรกิจจะต้องท�างานร่วมกันโดยตรงกับ
           ผู้ที่ได้รับ/อาจจะได้รับผลกระทบ เช่น พนักงาน ผู้จัดหาวัตถุดิบ นักลงทุน ชุมชนท้องถิ่น
                   (๓) การบูรณาการนโยบายเข้ากับการประเมิน รวมถึงกลไกควบคุมภายในและภายนอก (Incorporating into
           company procedures and addressing impacts) เมื่อมีการระบุปัญหาและจัดล�าดับความส�าคัญแล้ว ธุรกิจต้องหา

           ทางบรรเทาปัญหาผ่านการบูรณาการเข้าถึงการด�าเนินงานของบริษัท วิธีการขึ้นอยู่กับประเด็น แต่ส่วนใหญ่มักด�าเนินการ
           ผ่านการให้ความรู้และฝึกอบรมด้วยเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องมีตั้งแต่ แรงงานไป
           จนถึงธรรมาภิบาลของบริษัท หากมีการท�างานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียจะช่วยท�าให้บริษัทพัฒนานโยบายและกระบวนการ
           ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

            132 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138