Page 131 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 131

ต่าง ๆ เคารพสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาประสิทธิภาพในการท�างานขององค์กร
           โดยในปี ๒๕๖๐ กสม. ได้ด�าเนินการศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชนแล้วเสร็จ รวม ๓ เรื่อง และอยู่ระหว่างการด�าเนินการ
           ศึกษาวิจัย อีกจ�านวน ๓ เรื่อง ได้ด�าเนินการน�าผลงานการศึกษาวิจัยที่ด�าเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วจัดท�าสื่อเพื่อเผยแพร่
           ผลงานการศึกษาวิจัยสู่สังคม โดยมีรายละเอียด ดังนี้



                   การศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน จ�านวน ๓ เรื่อง ได้แก่


                   ๑. การศึกษาวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due

           Diligence) และการจัดท�าคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของธุรกิจการโรงแรม รวมทั้ง
           รายการตรวจสอบ (checklist) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม”
                   ผู้ศึกษาวิจัย : สถาบันวิจัยและให้ค�าปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล)
                   สาระส�าคัญของการศึกษาวิจัย

                   โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดท�า (๑) รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง
           รอบด้าน (Human Rights Due Diligence)” เพื่อเป็นองค์ความรู้โดยรวมเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง
           รอบด้านตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (๒) คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง
           รอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม และ (๓) รายการตรวจสอบ (checklist)

           ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม ให้เป็นไปตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อใช้เป็น
           คู่มือในการตรวจสอบและประเมินสถานะขององค์กรในด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจการโรงแรม โดยมีสาระส�าคัญจากผล
           การศึกษาวิจัย ดังนี้



                   หลักการตรวจสอบและประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence : HRDD)
           ได้รับการระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ  (UNGPs) ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่
           พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นเอกสารที่จัดท�าและเผยแพร่โดยส�านักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
           (OHCHR) โดยการสนับสนุนของเลขาธิการสหประชาชาติ  มีศาสตราจารย์จอห์น รักกี้ (John Ruggie) จาก

           มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฐานะผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้จัดท�า หลักการชี้แนะเป็นกรอบ
           ส�าหรับรัฐในการควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชนด้วยการจัดท�า “พิมพ์เขียว” ส�าหรับบริษัทต่าง ๆ เพื่อ
           เป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเป็นการน�าเสนอแนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิด
           สิทธิมนุษยชนที่ไม่พึงประสงค์ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และประชาสังคมเช่นเดียวกับจากรัฐต่าง ๆ โดยมีหลักการ

           วางอยู่บนหลัก ๓ ประการ คือ (๑) การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) คือ รัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครอง ไม่ให้มีการละเมิด
           สิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจต่าง ๆ ด้วย (๒) การเคารพสิทธิมนุษยชน
           (Respect) องค์กรและบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน (๓) การเยียวยา
           (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่เหมาะสม รวมทั้งยังเรียกร้องให้องค์กร

           ภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าโดยกิจการ
           นั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องซึ่งได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ


                 ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNGPs) ได้ระบุถึงกระบวนการตรวจสอบ

           ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) ไว้ในหลักการข้อที่ ๑๗ - ๒๒ ซึ่งได้ก�าหนด
           กรอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถติดตามประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง โดยมุ่งหวังว่าองค์กรธุรกิจควรด�าเนินธุรกิจอย่าง
           รับผิดชอบ โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนในการป้องกัน ลดความสูญเสีย มีการประเมินผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน



            130 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136