Page 104 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 104

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




                     ข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค�าสั่ง


                     เนื่องจากกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่บังคับใช้ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติที่จ�ากัดสิทธิ
            ในที่ดินและการจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างไม่เป็นธรรม ในเรื่องการหวงกันที่ดินที่ยังไม่มีผู้ได้สิทธิตามประมวลกฎหมาย

            ที่ดินให้เป็น “ป่า” ทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔  และบังคับให้ราษฎรสละการครอบครองที่
            รกร้างว่างเปล่า  โดยผลของกฎหมายปิดปากตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ รวมถึง
            การไม่ให้สิทธิโต้แย้งคัดค้านไว้ในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์  บทที่ ๒
            ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงมีข้อเสนอเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ดังต่อไปนี้



                     ๑) พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ โดยควรแก้ไขเปลี่ยนแปลงนิยามค�าว่า “ป่า” ให้สอดคล้องกับ
            ลักษณะทางกายภาพและสภาพทางภูมิศาสตร์ โดยให้หมายถึงเฉพาะพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่มีความชุ่มชื้น มีพันธุ์ไม้หลากชนิด
            และมีระบบนิเวศที่ค่อนข้างสมบูรณ์ รวมถึงพื้นที่ที่มีกฎหมายโดยที่ราษฎรมีส่วนร่วมก�าหนดให้เป็นป่า



                     ๒) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ในมาตราดังต่อไปนี้
                        ๒.๑) มาตรา ๑๒ เห็นควรแก้ไข ดังนี้
                             ๒.๒.๑)  พิจารณาก�าหนดเงื่อนเวลายื่นค�าร้องจากเดิม ๑๒๐ วัน เป็น ๑ ปี นับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ

                             ๒.๒.๒) แก้ไขความตอนท้ายของมาตรา ๑๒ จาก “...ถ้าไม่ยื่นค�าร้องภายในก�าหนดดังกล่าวให้ถือว่า
            สละสิทธิหรือประโยชน์นั้น” เป็น “...ถ้าไม่ยื่นค�าร้องภายในก�าหนดดังกล่าว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสละสิทธิหรือประโยชน์
            นั้น” ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิในการจัดการ บ�ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ
            ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนของชุมชน”

                        ๒.๒) มาตรา ๑๓ เห็นควรยกเลิกความในวรรคแรกและใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “เมื่อคณะกรรมการควบคุม
            และรักษาป่าสงวนแห่งชาติประจ�าจังหวัดได้รับค�าร้องตามมาตรา ๑๒ แล้ว ให้สอบสวนตามค�าร้องนั้นประกอบภาพถ่ายทาง
            อากาศและพยานหลักฐานอื่น ๆ ถ้าปรากฏว่าผู้ร้องได้ครอบครองท�าประโยชน์มาก่อนวันที่กฎกระทรวงก�าหนดป่าสงวน
            แห่งชาตินั้นใช้บังคับให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีให้เพิกถอนกฎกระทรวงเฉพาะพื้นที่ที่

            ได้ครอบครองมาก่อนดังกล่าว เว้นแต่การเพิกถอนเช่นนั้นจะกระทบเสียหายต่อความสมดุลยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
            สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพในสาระส�าคัญ ให้คณะกรรมการพิจารณาค่าทดแทนให้ตามสมควร” และ
                        ๒.๓) มาตรา ๑๔ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๑๒ เห็นควรเพิ่มข้อความต่อไปนี้ใน (๓) ของมาตราดังกล่าวว่า
            “(๓) พิสูจน์ได้ว่าครอบครองท�าประโยชน์ในบริเวณดังกล่าวมาก่อนวันที่กฎกระทรวงก�าหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ

            และการกระท�าดังกล่าวไม่เสื่อมเสียแก่ความสมดุลและยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ”
                     ๓) ส�าหรับเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของ
            กฎหมายเพื่อให้สิทธิในการยื่นค�าร้องและโต้แย้งคัดค้านท�านองเดียวกันกับมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติ
            ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ ตามที่เสนอข้างต้นด้วย



                     ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


                     ส�านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๖/๑๖๙๐๔ ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐

            แจ้งว่า รองนายกรัฐมนตรี (วิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้มีค�าสั่งมอบหมายให้กระทรวง
            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องไปพิจารณาร่วมกับ กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตร
            และสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กอ.รมน. และหน่วยงานที่



                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 103
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109