Page 103 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 103
๑.๔) ควรกระจายการถือครองที่ดิน เช่น ปรับปรุงเครื่องมือทางภาษีทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควร
มีการส�ารวจทางอากาศที่ดินในประเทศอย่างสม�่าเสมอไม่น้อยกว่าทุก ๕ ปี และปรับปรุงบทบัญญัติมาตรา ๖ แห่งประมวล
กฎหมายที่ดิน รวมทั้งแนวทางปฏิบัติตามมาตราดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อไม่ให้เอกชนที่ถือครองที่ดินละทิ้ง
ที่ดินโดยไม่ท�าประโยชน์
๑.๕) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้
๑.๖) ควรสนับสนุนสิทธิร่วมของชุมชน เพื่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ชุมชนมี
สิทธิร่วมกันเพื่อจะท�าให้ค�านึงถึงสิทธิประโยชน์ของตนและของชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยให้สิทธิและหน้าที่แก่
คนในพื้นที่ที่จะบริหารจัดการทรัพยากรในบริเวณที่ก�าหนดตามความต้องการของกลุ่มภายใต้เงื่อนไขและข้อก�าหนดต่าง ๆ
ภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้ก�ากับดูแล ติดตามประเมินผล นอกจากนั้น แนวทางการ
แก้ไขปัญหาชุมชนที่อยู่อาศัยในเขตป่าให้ใช้หลักคิดสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้การก�าหนดแนว
เขตที่ดินป่าไม้เป็นเรื่องของประชาชน ชุมชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตกลงกันเอง โดยไม่ยึดติดกับแนวเขตป่าไม้
เดิมที่ประกาศในกฎหมาย
๑.๗) ควรด�าเนินการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมาย “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development
Goals :SDGs) เพื่อป้องกันและแก้ไขอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากร ส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน
สนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการเกษตรให้เอกชนสามารถเพิ่มผลผลิตในพื้นที่จ�ากัด และสนับสนุนให้มีการ
แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรแทนการให้เกษตรกรมุ่งผลิตและจ�าหน่ายผลิตภัณฑ์ขั้นปฐมภูมิอย่างเดียว รวมทั้งส่งเสริม
การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่กระทบต่อ
ประชาชนทุกคนในประเทศ และเพื่อลดการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์และความหลากหลายทางชีวภาพ
ที่ต้นก�าเนิดของชีวิต และควรจัดสรรพื้นที่ฟื้นฟูให้เกิดความสมดุลระหว่าง “ป่าอนุรักษ์” ที่เป็นแหล่งก�าเนิดน�้า ก๊าซ และ
อาหาร “ป่าเศรษฐกิจ” ที่ต้นไม้หมุนเวียนมีอัตราการดูดซับก๊าซเรือนกระจกมาก และ “ป่าชุมชน” ซึ่งต้องให้ประชาชนมี
ส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าตามวิถีชีวิตดั้งเดิม
๒) คณะรัฐมนตรีควรด�าเนินการให้กรมป่าไม้ กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช วางแนวทางปฏิบัติในการ
ใช้อ�านาจของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ค�านึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระท�าซึ่งเป็น
องค์ประกอบภายนอกของกฎหมายก่อนการใช้อ�านาจจับกุมหรือขับไล่ราษฎร รวมถึงก�าหนดให้ต้องมีค�าสั่งทางปกครอง
เพื่อแจ้งให้ราษฎรออกจากพื้นที่หรือปฏิบัติตามกฎหมายก่อน และต้องเปิดโอกาสให้ราษฎรใช้สิทธิโต้แย้งคัดค้านค�าสั่งตาม
กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
๓) คณะรัฐมนตรีควรให้ค�ามั่นแก่ราษฎรและก�าหนดแนวทางปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่จับกุมและด�าเนินการขับไล่หรือไล่รื้อผู้
บุกรุกรายใหม่ซึ่งไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ควรช่วยเหลือ หลังจากที่ได้พิสูจน์สิทธิตามหลักเกณฑ์ที่ กสม. เสนอแนะ และคดีได้เข้าสู่
กระบวนการยุติธรรมจนคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิพลเมืองตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และเพื่อให้ประกันว่าการไล่รื้อ (Forced Evictions) จะถูกใช้เป็นวิธีการสุดท้าย ตามกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) นอกจากนั้น ในการจับกุม เจ้าหน้าที่ ผู้จับกุม
ไม่ควรกระท�าโดยการเหยียดหยามต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข่มขู่ คุกคาม ใช้ก�าลังบังคับ หรือปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
102 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐