Page 102 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 102
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
๑.๑) ควรสนับสนุนงบประมาณหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการที่ดินของรัฐและทรัพยากรป่าไม้
ไปยังหน่วยงานในพื้นที่ส�าหรับการจัดท�าแผนที่และส�ารวจพื้นที่ทางกายภาพ
๑.๒) ในการประกาศพื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่และการขยายพื้นที่จากเขตเดิม ควรพิจารณาว่าจ�าเป็นเพื่อการอนุรักษ์
ต้นน�้าล�าธารหรือไม่ ไม่ควรประกาศเขตอนุรักษ์เพื่อหวงกันเพียงให้ได้จ�านวนพื้นที่ตามนโยบายป่าไม้แห่งชาติเท่านั้น แต่
ควรใช้แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ในที่ดินเอกชนแทน ในกรณีจ�าเป็นที่จะต้องมีการประกาศเขตป่าสงวน
แห่งชาติหรือเขตอนุรักษ์ ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก�าหนดและรับรู้ถึงแผนการด�าเนินการของภาครัฐ รวมถึงเปิด บทที่ ๒
โอกาสให้มีการโต้แย้งคัดค้านในกระบวนการ และควรก�าหนดให้มีการส�ารวจพื้นที่จริงโดยใช้เทคโนโลยีส�ารวจทางอากาศ
หรือดาวเทียมภายในระยะเวลาไม่เกิน ๒ ปี และท�าแผนที่ทางกายภาพ ส�าหรับพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตป่าอนุรักษ์แล้ว ควร
มีการส�ารวจและตรวจสอบพื้นที่จริงโดยใช้เทคโนโลยีดังกล่าวทุก ๒ ปี
๑.๓) ควรก�าหนดมาตรฐานขั้นต�่าในการด�าเนินการพิสูจน์สิทธิ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๔๑ และควรพิสูจน์ก่อนมีการด�าเนินคดีตามกฎหมาย ดังนี้
ขั้นแรก ควรพิสูจน์สิทธิโดยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศหรือภาพถ่ายดาวเทียมในปัจจุบันเปรียบเทียบกับ
ภาพถ่ายในอดีตที่ใช้เป็นฐานในการพิสูจน์ซึ่งส่วนราชการเป็นผู้ด�าเนินการจัดหา เช่น ภาพถ่ายปี ๒๕๔๘ (มาตราส่วน ๑
: ๔,๐๐๐) เป็นต้น โดยหากพบว่ามีการเข้าท�าประโยชน์ก่อนภาพถ่ายปีดังกล่าว ควรให้การรับรองเป็นหนังสือโดยระบุ
ขอบเขตและพิกัดดาวเทียมแก่ราษฎรเพื่อให้สามารถท�าประโยชน์ต่อไปได้ หากพิสูจน์แล้วว่าเป็นกรณีการท�าประโยชน์
ภายหลังจากปีที่ใช้เป็นฐานในการพิสูจน์หรือมีการขยายพื้นที่ จึงจะให้เจ้าหน้าที่ไปส�ารวจพื้นที่จริงและจัดท�าบัญชีรายชื่อ
ผู้บุกรุกครอบครองในปัจจุบัน ทั้งนี้ กรณีไม่มีภาพถ่ายทางอากาศในปีที่ใช้เป็นฐานในการตรวจสอบดังกล่าว ควรเปิดโอกาส
ให้มีการพิสูจน์โดยพยานบุคคล หรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนต่อมา ควรจะตรวจสอบวัตถุประสงค์ของการบุกรุก ว่าเป็นการบุกรุกด้วยวัตถุประสงค์ใด โดยหาก
เป็นการบุกรุกเพื่อเข้าอยู่อาศัยและท�าประโยชน์ในพื้นที่จ�านวนไม่มากนัก หรือมีลักษณะเป็นชุมชนที่อาศัยอยู่เดิม หรือเป็น
ที่ดินที่อาศัยสืบต่อกันมาของกลุ่มชาติพันธุ์ และไม่กระทบต่อระบบนิเวศ ก็ควรจะได้รับการพิจารณาช่วยเหลือและรับรอง
ให้อยู่อาศัยได้อย่างปกติสุขโดยไม่จ�าต้องให้เอกสารสิทธิที่สามารถเปลี่ยนมือได้ ทั้งนี้ หากเป็นการบุกรุกอุทยานแห่งชาติอาจ
จะพิจารณาให้ท�าประโยชน์ได้ในฐานะผู้ร่วมอนุรักษ์ตามมาตรา ๑๙ ของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ หรือ
หากเป็นการบุกรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติ หน่วยงานในพื้นที่ก็อาจมีการท�าข้อตกลงทางปกครองไว้กับราษฎร ให้สามารถท�า
ประโยชน์และให้ช่วยท�านุบ�ารุงป่าไม้ไปพร้อมกัน โดยควรสนับสนุนให้ท�าประโยชน์ที่หลากหลาย ให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น พืชไร่หรือยางพาราในปริมาณมาก แต่หากเป็นการบุกรุกเพื่อท�าประโยชน์อย่างเดียว ก่อนการ
ด�าเนินการต่อไปควรพิสูจน์สถานะก่อนว่าเป็นผู้ยากไร้หรือไม่ ซึ่งควรมีการก�าหนดหลักเกณฑ์พิจารณาโดยร่วมกันระหว่าง
ภาครัฐกับภาคประชาชน และประกาศให้ชัดเจนเพื่อเป็นขอบเขตในการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่และป้องกันการกล่าวอ้าง
โดยมิชอบของบุคคลที่ไม่สุจริตอีกทั้งควรมีการจัดท�าฐานข้อมูล เพื่อให้การช่วยเหลือด้านสวัสดิการและเพื่อการตรวจสอบ
ในอนาคต และหากผู้บุกรุกเข้าเกณฑ์ เป็นผู้ยากไร้ซึ่งบุกรุกครั้งแรกด้วยความจ�าเป็นทางเศรษฐกิจ ภาครัฐควรพิจารณา
ช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์และมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่แล้วและอาจต้องเยียวยาโดยจัดที่อยู่อาศัยให้เพียงพอต่อการด�ารงชีพ
ของบุคคลดังกล่าว โดยอาจพิจารณาจัดที่ดินท�ากินให้ราษฎรหรือชุมชนตามนโยบายของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ
ทั้งนี้ ควรจ�ากัดให้สัมปทานหรือต่ออายุสัมปทานแก่เอกชนรายใหญ่กรณีการพิสูจน์สิทธิยังไม่แล้วเสร็จหรือหากข้อพิพาท
ถูกน�าขึ้นสู่ศาลแต่คดียังไม่ถึงที่สุด ส่วนกรณีที่มีการเดินส�ารวจออกเอกสารสิทธิ กรณีจัดสรรที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อ
เกษตรกรรม หรือกรณีมีการให้เช่าที่ดินของรัฐ ควรให้สิทธิแก่ผู้ที่ไม่เคยบุกรุกที่ดินของรัฐก่อน ล�าดับถัดมาจึงให้สิทธิแก่ผู้
บุกรุกซึ่งยินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 101