Page 106 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 106

บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐




                                                          และสร้างความตระหนักในเรื่องสิทธิมนุษยชน สื่อสารเกี่ยวกับ
                                                          สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งผลงาน
                                                          ส�าคัญของ กสม. ต่อสาธารณชนอย่างถูกต้องและทั่วถึง เพื่อให้
                                                          บรรลุเป้าหมายที่ก�าหนด คือ ทุกภาคส่วนของสังคมมีความรู้ความ

                                                          เข้าใจและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเคารพในศักดิ์ศรีความ
                                                          เป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค อันจะน�าไปสู่สังคม
                                                          แห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยในปีงบประมาณ พุทธศักราช   บทที่ ๒
                                                          ๒๕๖๐ กสม. มีการด�าเนินงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ดังนี้



                                                          ๒.๑ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน


                     ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตาม

            หลักการสิทธิมนุษยชน ภายใต้แผนงานบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแผนงานบูรณาการ
            จัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ รวมทั้งแผนงานพื้นฐาน โดยมีโครงการส�าคัญ ดังนี้


                     ๒.๑.๑ โครงการพื้นที่ชายแดนภาคใต้ภายใต้หลักการสิทธิมนุษยชน (ภายใต้แผนบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไข

            ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้) ผ่านกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการสากล โดยมีวัตถุประสงค์
            เพื่อให้ประชาชนและพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน
            และส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตามหลักการที่ก�าหนดไว้ภายใต้กรอบกฎหมายและสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเป็นการ
            เผยแพร่ภารกิจและท�าให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นที่รู้จักแก่สาธารณชนทั้งในและนอกพื้นที่จังหวัดชายแดน

            ภาคใต้มากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย ๓ กิจกรรมย่อย ได้แก่


                     (๑) ให้ความรู้ด้านสิทธิชุมชนแก่เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้ารับการอบรม
            สามารถน�าความรู้ที่ได้จากการอบรมไปเผยแพร่สู่ชุมชนของตนเอง ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยายให้ความรู้ ร่วมกับ

            การอภิปราย และการประชุมกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งสรุปผลการประชุม เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนที่มีพลังใน
            การป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๒ - ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรม ซี เอส ปัตตานี ผู้เข้าร่วม
            ประกอบด้วยเครือข่ายนักศึกษาและเยาวชน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กและเยาวชน จ�านวน ๑๑๒
            คน ทั้งนี้ ในโครงการดังกล่าวมีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาและเยาวชน ออกเป็น ๕ กลุ่ม เพื่อร่วมกันค้นหาปัญหา พร้อมทั้งเสนอ

            แนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง ดังนี้
                        (๑.๑) ปัญหาด้านการศึกษา โดยมีความเห็นว่าประชาชนในพื้นที่ยังไม่ได้รับการบริการทางการศึกษาอย่าง
            ทั่วถึง ขาดสื่อการเรียนการสอนส�าหรับเด็กในชนบท
                        (๑.๒) ปัญหาด้านสวัสดิการและการบริการของรัฐที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึง รวมถึงการเลือกปฏิบัติของผู้น�า

            ชุมชนที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้องก่อน
                        (๑.๓) นโยบายของรัฐที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในพื้นที่
                        (๑.๔)  ปัญหาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่ ท�าให้ประชาชนได้รับผลกระทบ
                     ทั้งนี้ มีข้อเสนอให้รัฐสอบถามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก่อนด�าเนินโครงการใด หรือให้ประชาชนมีส่วนร่วม

            ในการแสดงความคิดเห็นในทุกกระบวนการ รวมทั้งให้มีการเผยแพร่ความรู้หรือด�าเนินการประชาสัมพันธ์บริการจากภาครัฐให้
            ทั่วถึง และจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่ไปปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้รับทราบถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่





                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 105
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111