Page 100 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 100
บทที่ ๒ ผลการด�าเนินงานประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยกองอ�านวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า แจ้งว่า ได้ปฏิบัติตามมาตรการ
ด้านกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
ส่วนกรมการปกครองได้แจ้งให้จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลาพิจารณาด�าเนินการตามข้อเสนอแนะ
ของ กสม. และให้ประชาสัมพันธ์ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนศูนย์ด�ารงธรรม ในกรณีที่มีประชาชนได้รับผลกระทบ
จากความไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือกระท�าการกระทบต่อสิทธิมนุษยชนศูนย์อ�านวยการ
บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้ด�าเนินโครงการคลายทุกข์ต้นทาง โครงการเครือข่ายอ�านวยความเป็นธรรมภาค บทที่ ๒
ประชาชน KEADILAN CENTER เพื่อเป็นการอ�านวยความยุติธรรมในระดับพื้นที่ และได้ด�าเนินการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับ
ผลกระทบตามกรอบอ�านาจหน้าที่และให้เป็นไปตามที่กฎหมายก�าหนด นอกจากนี้ ศอ.บต. ยังเห็นว่าข้อเสนอแนะของ
กสม. สอดคล้องกับแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) อีกด้วย ส�านักงานต�ารวจแห่งชาติได้มี
หนังสือก�าชับเจ้าหน้าที่ต�ารวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนใต้ให้ถือปฏิบัติในการส่งตัวผู้ต้องสงสัยไปยังโรงพยาบาลของ
รัฐประจ�าจังหวัด เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายไว้เป็นหลักฐานก่อนสอบปากค�า อีกทั้ง ศูนย์ปฏิบัติการต�ารวจภาคใต้ได้ส่ง
เจ้าหน้าที่ต�ารวจเข้ารับการฝึกอบรมตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับสาระส�าคัญและ
ข้อพึงปฏิบัติในส่วนของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ กระทรวงยุติธรรมโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้
ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ส�านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) จัดฝึกอบรมเทคนิคการ
ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานเกี่ยวกับการทรมานฯ ให้กับแพทย์ตามแนวทางของพิธีสารอิสตันบลู โดยในปี ๒๕๕๙ จะร่วมกัน
พัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ที่ท�าหน้าที่ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน กระทรวงยุติธรรมได้ด�าเนินการเพื่อปรับปรุง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเตรียมการเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และ
อยู่ระหว่างการจัดอบรมเผยแพร่ความรู้ เพื่อเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้มีการทรมานและการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในเรือน
จ�า จัดท�าคู่มือการปฏิบัติหน้าที่และการใช้ชีวิตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้บริการช่วยเหลือทางกฎหมายและเยียวยา
ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชน
กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนงบประมาณในการด�าเนินการให้ความช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจมาอย่าง
ต่อเนื่อง โดยศูนย์สุขภาพจิตที่ ๑๒ จังหวัดสงขลาร่วมกับนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ด�าเนิน
การบรรเทาปัญหาความไม่ไว้วางใจต่อเจ้าหน้าที่รัฐ และเยียวยาจิตใจต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ แม้จะมีปัญหาติดขัดด้าน
งบประมาณบางอย่างที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดหาของเยี่ยมบ้าน ซึ่งกระทรวงฯ จะรับไป
พิจารณาต่อไป
กรณีที่ ๑๙ การปรับปรุงกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเขตป่า สงวนแห่งชาติและเขตอุทยาน
แห่งชาติกับที่ดินเอกชนทับซ้อนกัน และกรณีราษฎรได้รับความ เดือดร้อน จากมาตรการ
ทวงคืนผืนป่าตามค�าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน
๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗
ประเด็นค�าร้อง
กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจ�านวนมากกล่าวอ้างว่า ได้รับความเสียหายและความเดือดร้อนจากการถูกขับไล่
จากที่ดินท�ากิน ถูกจับกุม และด�าเนินคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ
และหรือกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ เนื่องจากเขตพื้นที่อนุรักษ์ดังกล่าวทับซ้อนกับที่ดินที่ราษฎรยึดครองท�ากิน
โดยเฉพาะในช่วงปี ๒๕๕๘ เป็นต้นมา ที่เจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนได้มีการด�าเนินการตามนโยบาย “ทวงคืนผืนป่า” ตาม
ค�าสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 99