Page 99 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 99
๒) หน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรประสานความร่วมมือจากแพทย์ของ
โรงพยาบาลรัฐประจ�าจังหวัดให้เป็นผู้ท�าหน้าที่ตรวจร่างกายและจัดท�าบันทึกการตรวจร่างกายไว้เป็นหลักฐานก่อนเพื่อ
แสดงความโปร่งใส โดยด�าเนินการก่อนที่จะมีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบไปที่
หน่วยของทหาร
๓) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรมควรเร่งรัดการอนุวัติกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาต่อต้านการ
ทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่า
ด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ เพื่อป้องกันการทรมานและการลงโทษและการปฏิบัติอย่าง
ทารุณ ผิดมนุษย์หรือลดทอนความเป็นมนุษย์ อย่างครอบคลุมและครบถ้วนตามหลักการของอนุสัญญาทั้งสองดังกล่าว
๔) คณะรัฐมนตรี โดยกระทรวงยุติธรรม กองอ�านวยการรักษาความมั่นคงภายใน และส�านักงานต�ารวจแห่งชาติ
ควรร่วมกันพัฒนาระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ซึ่งท�าให้บุคคลเสื่อมเสียซึ่งอิสรภาพเพื่อป้องกันการทรมานและการลงโทษและ
การปฏิบัติอย่างทารุณ
๕) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเกี่ยวกับสาระส�าคัญ
และข้อพึงปฏิบัติในส่วนของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานฯ ไปแล้วหลายครั้ง และจะประสานความร่วมมือกับ
กองอ�านวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า และศูนย์ปฏิบัติการต�ารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริม
ให้มีการจัดฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ต�ารวจ โดยเฉพาะหน่วยปฏิบัติการ หน่วยงานด้านการข่าว เพื่อให้
ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน
๖) คณะรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต ควรให้ความส�าคัญในเรื่องการช่วยเหลือเยียวยาด้าน
จิตใจแก่ครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การซ้อมทรมาน เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและบรรเทาปัญหา
ความไม่ไว้วางใจที่อาจมีต่อเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘ รับทราบผลการพิจารณาค�าร้องเพื่อเสนอแนะเชิงนโยบายหรือ
ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และมอบหมายให้กระทรวงกลาโหม กระทรวง
การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข ส�านักงานต�ารวจ
แห่งชาติ ศูนย์อ�านวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองอ�านวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พิจารณา
ศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการด�าเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ในภาพรวม และให้กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมผลการด�าเนินการเพื่อน�าเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ต่อมาคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ รับทราบผลการด�าเนินการของกระทรวงกลาโหม โดยสรุป
สาระส�าคัญได้ว่า กรณีข้อเสนอแนะที่ให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรก�าชับ
ให้กับเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือมาตรการการแก้ไขปัญหาที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะ
มาตรการด้านกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและมาตรการด้านกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ต่อประชาชนในพื้นที่และลดเงื่อนไขที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม นั้น กระทรวงกลาโหมแจ้งว่า รายงานผลการพิจารณา
ของ กสม. ถือเป็นมาตรการการแก้ปัญหาอันจะส่งผลดีต่อการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของประชาชนตามที่ได้
98 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐