Page 101 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 101

๒๕๕๗ ท�าให้ราษฎรจ�านวนมากได้รับความ
                                                                       เดือดร้อนจากการปฏิบัติการดังกล่าว  โดย
                                                                       ราษฎรกล่าวอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ข่มขู่ คุกคาม
                                                                       ต่อชีวิต และเสรีภาพ พร้อมทั้งยึดท�าลาย

                                                                       พืชผลของราษฎรโดยปราศจากการพิสูจน์
                                                                       ข้อเท็จจริง  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
                                                                       แห่งชาติพิจารณาค�าร้องข้างต้นแล้วเห็นว่า เป็น
                                                                       ประเด็นเกี่ยวกับการด�าเนินการตามกฎหมาย

                                                                       ของภาครัฐในเรื่องการบริหารจัดการที่ดินและ
                                                                       ทรัพยากรป่าไม้ที่อาจกระทบต่อการด�ารงชีวิต
                                                                       ของประชาชน และมีปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวข้อง
           กันหลายประการ ได้แก่ ข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ถูกจ�ากัดโดยกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อ

           คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ข้อพิพาทเกี่ยวกับการด�าเนินการตามนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ
           การจัดการที่ดินของรัฐประเภทที่ป่าสงวนแห่งชาติ และที่อุทยานแห่งชาติ และข้อพิพาทเกี่ยวกับการใช้อ�านาจทางปกครอง
           ของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจับกุมและบังคับการตามบทบัญญัติที่มีโทษทางอาญา



                   การด�าเนินการ


                   ในทรรศนะของบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทย “ที่ดิน” และ “ทรัพยากรธรรมชาติ” โดยหลักแล้วถูกก�าหนดให้
           เป็นของรัฐซึ่งสามารถแสวงหาประโยชน์หรือใช้สอยเพื่อการจัดท�าบริการสาธารณะ โดยรัฐจะเป็นเจ้าของ (Ownership)

           หรือสิทธิครอบครอง (Possessory Right) ตามระบบกรรมสิทธิ์แก่พลเมืองภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะ รวม
           ทั้งอาจให้ท�าประโยชน์บนที่ดินโดยไม่ให้สิทธิ์แก่พลเมืองภายใต้กฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะ รวมทั้งอาจท�าให้ประโยชน์
           บนที่ดินโดยไม่ให้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของครอบครอง ส�าหรับที่ดินสงวนหวงห้ามประเภทป่า นอกจากพลเมืองจะไม่สามารถ
           เข้าครอบครองหรือยึดถือได้แล้วรัฐยังตรากฎหมายที่มีโทษทางอาญาเข้าควบคุมพื้นที่ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของข้อถกเถียงเรื่อง

           การบุกรุกป่าในทรรศนะของรัฐ น�ามาสู่การก�าหนดมาตรการแก้ไขปัญหาของภาครัฐหลายวาระ ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไข
           ปัญหาเป็นไปอย่างมีระบบ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน จึงได้จัดท�าข้อเสนอแนะมาตรการหรือ
           แนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือค�าสั่ง
           ใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเนื่องจากนโยบายเกี่ยวกับการจัดการที่ดินของรัฐกระทบ

           ต่อสถานภาพแห่งสิทธิของราษฎรและประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก�าหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์เป็นการจ�ากัด
           การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในทรัพย์สินของเอกชน ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา
           ๒ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ และเป็นการจ�ากัดสิทธิในเสรีภาพในการโยกย้ายและเลือก
           ถิ่นที่อยู่ของพลเมืองในราชอาณาจักร ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ดังนั้น

           จึงมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้


                   ข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน



                   ๑) คณะรัฐมนตรีควรก�าหนดแนวทางปฏิบัติและสนับสนุนส่วนราชการเกี่ยวกับการจัดการที่ดินของรัฐประเภท
           ที่ป่า ที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่อุทยานแห่งชาติ และที่อนุรักษ์อื่น ๆ ดังนี้





            100  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106