Page 107 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 107

(๒) ให้ความรู้หลักการสิทธิมนุษยชนและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
           และบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสนับสนุนภารกิจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
           แห่งชาติ ในกระบวนการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในด้านการรับค�าร้อง และการตรวจ
           สอบข้อเท็จจริง อีกทั้งให้ความรู้หลักการสิทธิมนุษยชนและกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีกิจกรรม

           การจัดท�าหลักสูตรการฝึกอบรม การฝึกอบรม การบรรยาย การประชุมกลุ่มย่อยปฏิบัติการ พร้อมทั้งสรุปผลการประชุม
           ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ณ โรงแรม ซี เอส ปัตตานี ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่ใน
           พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และผู้ปฏิบัติงานด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ
           จังหวัดสงขลา จ�านวน ๓๕ คน



                   (๓) ให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย
           ไร้มนุษยธรรม หรือย�่ายีศักดิ์ศรี (CAT) แก่เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย สืบเนื่องจากที่ผ่านมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
           แห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการกระท�าทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษ

           อื่นที่ไร้มนุษยธรรมกับผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การปฏิบัติหน้าที่
           ของเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงหลายค�าร้อง ซึ่งมีลักษณะเข้าข่ายการใช้ก�าลังบังคับที่ไม่เหมาะสม การใช้มาตรการต่าง ๆ กับ
           ผู้ต้องสงสัยเพื่อให้ได้ข้อสนเทศในคดีอาญาหรือเพื่อสอบสวนขยายผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดมาตรการที่มีประสิทธิผล
           ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระท�าทรมานโดยค�านึงถึงพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี ส�านักงาน

           คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงก�าหนดจัดโครงการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้าน
           การทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรีให้กับบุคลากรในกระบวนการ
           ยุติธรรม จ�านวน ๔๕๐ คน ซึ่งก�าหนดจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐



              ๒.๑.๒ โครงการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิมนุษยชนในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน (ภายใต้แผนบูรณาการ
           จัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์) ผ่านกิจกรรมการจัดเวทีสาธารณะและการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องปกป้อง
           และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากปัญหาการค้ามนุษย์ จ�านวน ๓ ครั้ง ประกอบด้วย



                   (๑) การจัดสัมมนาเครือข่ายสิทธิมนุษยชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
           ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ๖ โรงแรมเซนทราศูนย์ราชการและคอนเวนชัน
           เซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และศักยภาพของภาคีเครือข่ายในการ
           ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานต่างด้าวและต่อต้านการค้ามนุษย์ การสร้างเครือข่ายสิทธิมนุษยชนในการ

           ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน รวมทั้งแสวงหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านแรงงานต่างด้าว
           และการค้ามนุษย์ในพื้นที่


                   ผลส�าเร็จ/ความก้าวหน้าในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน



                   การจัดการสัมมนาเครือข่ายสิทธิมนุษยชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ มี
           ผู้เข้าร่วมการสัมมนา จ�านวน ๓๒๔ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชน
           ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ โดยข้อค้นพบที่ได้จากการจัดสัมมนา พบว่า กลุ่มเป้าหมายตระหนัก

           ถึงปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ยังขาดความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนที่จะน�ามาประยุกต์ใช้ใน
           การท�างานเพื่อปกป้อง คุ้มครอง และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากขบวนการค้ามนุษย์ และยังขาดการประสานการ
           ท�างานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง ระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับองค์กรพัฒนา



            106 |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112