Page 105 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 105
เกี่ยวข้องศึกษาแนวทางและความเหมาะสม และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สรุปผลด�าเนินการเพื่อ
เสนอคณะรัฐมนตรี
นอกเหนือจาก รายละเอียดกรณีตัวอย่าง ข้างต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ยังมีกรณีผลการด�าเนินงาน
เพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญอีกหลายกรณี อาทิ สิทธิทางเศรษฐกิจอันเกี่ยวเนื่องกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น
ธรรม กรณีกล่าวอ้างว่าคนกรีดยางรายย่อยไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรชาวสวนยางตามพระราชบัญญัติ
การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๘ การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม กรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก�าหนด
คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในการรับสมัครบุคคลภายนอกเพื่อคัดเลือกและบรรจุเป็นพนักงาน
สิทธิเด็ก ในการได้รับความช่วยเหลือและการแนะแนวทางการเข้าศึกษาและการประกอบอาชีพ กรณีพบว่าเด็กตาบอดสี
และสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณีกล่าวอ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกระท�าการทรมานระหว่างการถูกควบคุมตัว เป็นต้น
๑.๓ ผลการด�าเนินงานอื่น ๆ ที่ส�าคัญเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย
(๑) ตรวจเยี่ยมเพื่อส่งเสริมการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน (ภายใต้โครงการจัดท�าข้อเสนอ
แนะนโยบายและหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากผลการตรวจเยี่ยม
สถานที่เสี่ยง) ตรวจเยี่ยมศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน จ�านวน ๑๐ แห่ง และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
จ�านวน ๕ แห่ง
(๒) การไกล่เกลี่ยเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ระเบียบ กสม. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีไกล่เกลี่ย
พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่
๖ กันยายน ๒๕๕๙ เพื่อให้กลไกการไกล่เกลี่ยเป็นทาง
เลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยปัจจุบัน มีค�าร้องที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยตาม
ระเบียบฯ แล้ว จ�านวน ๕ ค�าร้อง สามารถไกล่เกลี่ย
จนเป็นที่ยุติแล้ว จ�านวน ๓ ค�าร้อง โดยมีรายงานผล
การไกล่เกลี่ยที่ผ่านการพิจารณาแล้ว ๑ เรื่อง คือ สิทธิ
ในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
กรณีกล่าวอ้างว่าโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งปฏิเสธการ
ร้องขอให้ตรวจสอบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
เป็นเหตุให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด
๒. ผลกำรด�ำเนินงำนด้ำนกำรส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและกำรประสำนงำน
เครือข่ำย
บทบาทในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Promotional Function) ถือเป็นภารกิจหนึ่งที่ส�าคัญของคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามหลักการปารีส (Paris Principles) และตามหน้าที่และอ�านาจที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๔๗ คือ การสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความส�าคัญของ
สิทธิมนุษยชน ประกอบกับแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๕ ก็ได้ให้ความส�าคัญ
ต่อการด�าเนินงานด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยก�าหนดเป็นยุทธศาสตร์การด�าเนินงานส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ
104 | รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐